ปิดม่านการแสดงละครเพลงสุดประทับใจ “พญากงพญาพาน เดอะมิวสิคัล”ละครเพลงคุณภาพ ควรค่าแก่การจดจำ “เจดียฺจะเล่าขาน ตำนานจะสอนสั่ง ชนรุ่นหลังจงจดจำให้ขึ้นใจ”


ปิดม่านการแสดงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับละครเพลงพญากงพญาพาน เดอะมิวสิคัล ซึ่งอำนวยการสร้างโดยสาขาธุรกิจดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่มีกำหนดแสดงตั้งแต่เมื่อวันที่28 กันยายน – 1 ตุลาคม 2560 ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากสื่อมวลชนและบุคคลในวงการบันเทิงมากมาย ที่ต่างยกให้ละครเพลงเรื่องนี้ควรค่าแก่การจดจำ

ละครเพลง พญากงพญาพาน เดอะมิวคัล มีเนื้อหาเกี่ยวกับตำนานทรงคุณค่าเรื่อง “พญากงพญาพาน” ตำนานที่มาแห่งการสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ ที่นำมาเล่าขานผ่านรูปแบบละคร เพลง “พญากงพญาพาน เดอะมิวสิคัล” (Phayakong – Phayaphan The Musical) ” เรื่องราวชีวิตของชายหนุ่มที่ชื่อว่า พาน กับการเล่นตลกของโชคชะตาที่นําพาความรักอันบริสุทธิ์และความพาล ไปสู่โศกนาฏกรรมต่อผู้มีพระคุณอย่าง สุดแสนสะเทือนใจ อันเป็นที่มาของพระเจดีย์อันศักดิ์สิทธิ์อายุนับพันปี “องค์พระปฐมเจดีย์” เจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กำกับการแสดงโดย นริทร ณ บางช้าง และนักแสดงมากฝีมือ อย่างคุณตั๊ก นภัสกร (รับบท พญากง), เจี๊ยบ นนทิยา (รับบท ยายหอม), อุ้ม อริยา (รับบท มเหสี) และนักแสดงหน้าใหม่ เต็มถัง บุริศร์ (รับบท พญาพาน) โดยตำนานเรื่องนี้ถูกเล่าขานผ่านการขับเสภา ประกอบกับการแสดงและการบรรเลงดนตรีผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีป็อปออเคสตร้าอย่างลงตัว ผ่านบทเพลงมากกว่า 20 บทเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่เพื่อละครเพลงนี้โดยเฉพาะ
โดยในการแสดงทั้ง 7 รอบนี้ ได้มีบุคคลในวงการบันเทิงมากมายได้ร่วมเข้าชมละครเพลงพญากงพญาพาน เดอะมิวสิคัล อาทิเช่น ตู้ จรัสพงษ์ สุรัสวดี, แม่แดง นันทวัน เมฆใหญ่, ดร.เสรี วงษ์มณฑา, อ้อย กาญจนา จินดาวัฒน์, ก้อย ศิรินุช เพ็ชรอุไร, เดย์ ฟรีแมน, ป๊อก ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ ,บุ๋ม รัญญา ศิยานนท์, ตุ๊ก วิยะดา โกมารกุล ณ นคร , เจเน็ต เขียว เป็นต้น

ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมและต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เพลงไพเราะมาก ทั้งไทยและสากล สมกับเป็นวิทยาลัยดุริยางคิลป์ และนอกจากดนตรีที่ไพเราะ ติดหูแล้ว ฉากและแสงสี ก็อลังการจัดเต็มไม่น้อยหน้า ฉากทำออกมาได้อย่างชาญฉลาดบนพื้นที่เวทีที่มีอย่างจำกัด และสามารถจัดการการเปลี่ยนฉากได้อย่างแนบเนียน และสิ่งที่ช่วยส่งเสริมฉากให้สวยและมีมนต์ขลัง นั้นคือการจัดแสง ที่ทำออกมาได้อย่างสวยงามมาก เข้ากับฉากและช่วยเสริมให้อารมณ์ของตัวละครส่งไปถึงคนดูได้อย่างเต็มอรรถรส รวมทั้งเสื้อผ้าของตัวละครเรื่องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ให้ความรู้สึ นี่แหละ! ยุคทวารวดีที่แท้จริง การออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนั้นได้มีค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างจริงจังและได้ออกแบบอย่างละเอียดในทุกๆฉากทุกๆชุด ซึ่งนอกจากดนตรีและฉากแสงสีแล้ว ยังมีอีกสิ่งเทคนิคพิเศษที่เซอร์ไพรส์คนดูมากๆ นั้นก็คือ การเนรมิตช้าง 2 เชือกให้มาอยู่บนเวทีในฉากยุตถหัตถี โดยหุ่นช้างที่นำมาแสดงนั้น มีกลไกที่มหัศจรรย์ที่ทำให้เหมือนช้างมีชีวิตจริงๆ แต่เมื่อสังเกตดีดี จะพบว่าในตัวช้างมีคนคอยเชิดอยู่ข้างใน โดยต้องใช้คนถึง10คนในการควบคุมช้าง 2 เชือกนี้ ซึ่งจะต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ถึงได้ควบคุมให้ช้างทั้งสองนั้นเคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิต ประกอบดนตรีและฉากแสงสี ที่ช่วยเสริมให้ฉากนี้ออกมาสวยงามและอลังการ นอกจากนี้ยังมีการจัดตกแต่งสถานที่ให้มีกลิ่นไอของยุคทวารวดีเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศงานอีกด้วยด้วย

view More & Full size Photos

ละครเพลงพญากงพญาพาน เดอะมิวสิคัล มีความยาว 3 ชม.เต็ม ครอบคลุมทุกอารมณ์ ทั้ง สนุก ตลก เศร้า ซึ้งกินใจ และโศกนาฏกกรมสุดแสนสะเทือนใจ ที่ทำให้ผู้ชมหลายคนถึงกับต้องเสียน้ำตาให้กับความไม่รู้และการกระทำผิดบาปของพญาพาน และความซาบซึ้งในความรักจากยายหอมที่มีต่อพญาพาน

เนื้อหาหลักของละครเรื่องนี้ได้ให้แง่คิดเรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและสัจธรรมทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว กรรมเกิดการกระทำ และเมื่อทำกรรมแล้ว ไม่มีวันลบล้างได้ ต้องยอมรับในสิ่งที่ตนทำและไม่กระทำผิดซ้ำอีก ดังเช่น คำสอนจากท่านสมภารที่มอบให้กับเจ้าพานดังนี้
“หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้นพระพุทธองค์ สอนสั่งบันทึกไว้ ผู้ทำกรรมดี แม้นเวลาผ่านนานเท่าไหร่ ย่อมได้ดี หากปลูกสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นสิ่งที่เจ้าฝัน ลงมือทำให้จงดี แต่ จงมีสติ กิเลสร้ายระวังให้ดี อย่าให้มันครอบงำ ทำดีย่อมได้ดี จำไว้ กรรมชั่วจะคอยติดตาม หากพลั้งไป คิดใคร่ครวญก่อนทำ กรรมร้ายจะไม่กล้ำกรายจิตใจจะพบแต่สิ่งดี”

การแสดง ละครเพลง พญากงพญาพาน เดอะมิวสิคัล วันที่จัดแสดง ระหว่างวันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาตม 2560 สถานที่ ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล กำกับการแสดงโดย นรินทร ณ บางช้าง
เขียนบทและเขียนเนื้อร้องโดย นพีสี เรเยส ประพันธ์ทำนองโดย ธิติวัฒน์ รองทอง และ ชวิน เต็มสิทธิโชค อำนวยการสร้างโดย สาขาธุรกิจดนตรีรุ่นที่17 วิทยาลัยดุริยาคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล