ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์หลอมรวมกันเพื่อสร้างแชมป์มาราธอน ไนกี้ ผู้นำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์กีฬาระดับโลกเปิดเผยถึงการเสริมสร้างศักยภาพของนักวิ่งเพื่อการคว้าชัยชนะและทำลายสถิติในการวิ่งมาราธอนภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง ในรายการ “เบรกกิ้งทู” (BREAKING2)

https://youtu.be/I9IQQ1W4bQ8

เพื่อทำลายสถิติการวิ่งมาราธอนในระยะเวลาต่ำกว่า 2 ชั่วโมง นักวิ่งจะต้องทำลายสถิติโลกที่ 2:02:57 ด้วยเวลาที่น้อยลงถึง 3% นั่นหมายความว่าต้องลดเวลาลงเรซละ 7 วินาทีตลอดระยะ 26.2 ไมล์ หลายคนอาจมองว่านี่คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่สำหรับไนกี้นี่คือเป้าหมายที่น่าพุ่งชน นักวิ่งผู้กล้าที่จะมาประลองความเร็วไปกับไนกี้ในการวิ่งมาราธอนในเวลาต่ำกว่า 2 ชั่วโมงในครั้งนี้ได้แก่เอเลียด คิปโชเก(ELIUD KIPCHOGE)เลลิซา เดซิซา (LELISA DESISA) และเซอร์เซเนย์ ทาเดเซ (ZERSENAYTADESE)หลังจากทดสอบและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติโลกเป็นเวลาหลายเดือนพบว่านักวิ่งทั้งสามมีความพร้อมที่จะเผชิญความท้าทายในครั้งนี้ เหตุผลง่าย ๆ ก็คือพวกเขาเก่งกว่านักวิ่งทั่วไปในการวิ่งระยะไกล มีประสบการณ์หลายปีและมีความเชี่ยวชาญที่ทำให้พวกเขาได้เปรียบนักวิ่งคนอื่น ๆ และนี่คือเหตุผลที่ทีมงาน BREAKING2 ทีมโค้ช และนักวิทยาศาสตร์เน้นการเสริมศักยภาพของนักวิ่งแทนที่จะเปลี่ยนวิธีเทรนนิ่งของนักวิ่งโดยสิ้นเชิง เพื่อให้นักวิ่งเหล่านี้คว้าชัยชนะในการทำลายสถิติครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในการวิ่ง

นักวิ่งทั้งสามและโค้ชได้มีส่วนร่วมในการออกแบบโปรแกรมซ้อมก่อนจะถึงวันนี้ ดร. แบรด วิลคินส์ (DR.BRAD WILKINS) แพทย์ด้านกายภาพศาสตร์และผู้อำนวยการ NIKE EXPLORE TEAM GENERATION RESEARCH แห่ง NIKE SPORT RESEARCH LABและ ดร. เบร็ท เคอร์บี้ (DR. BRETT KIRBY) นักวิจัยและหัวหน้านักกายภาพศาสตร์ของ NIKE SPORT RESEARCH LABเป็นผู้ควบคุมเชิงวิทยาศาสตร์ของ BREAKING2 “ทั้งสามคนเป็นนักวิ่งระดับมืออาชีพ มีโปรแกรมการฝึกซ้อมที่เข้มข้นอยู่แล้ว” วิลคินส์กล่าว “เป้าหมายของเราก็คือร่วมมือกับนักวิ่งทั้งสามท่านและโค้ชเพื่อวิเคราะห์ผล” และการร่วมมือในครั้งนี้นี่เองที่อาจนำไปสู่การทำลายสถิติวิ่งมาราธอนในเวลาต่ำกว่าสองชั่วโมง

ประสบการณ์ชี้วัดวิธีที่ได้ผล โปรแกรมฝึกซ้อมเปลี่ยนแปลงไปตามนักวิ่ง
โปรแกรมซ้อมประจำสัปดาห์ของเอเลียด คิปโชเก มีความหลากหลายและเน้นจุดที่แตกต่างกันไปตลอดทั้งโปรแกรม เขาจะซ้อมวันละสองครั้ง วิ่งระยะไกล วิ่งเร็ว และออกกำลังกายแบบฟาร์ทเล็ก (เป็นภาษาสวีดิช แปลว่าความเร็ว) “เอเลียดเข้าใจร่างกายของเขาเป็นอย่างดี เขาจะสำรวจร่างกายตัวเองและปรับความเร็วตามนั้น” เคอร์บี้กล่าว ส่วนเดซิซาเน้นเรื่องความอึดในการวิ่ง เขาจะวิ่งความเร็วปานกลางในระยะไกล และมีการออกกำลังกายเพิ่มเติมหลังจากนั้นเพื่อเพิ่มความเร็วและความแข็งแกร่ง แต่ทาเดเซนั้นตรงข้ามกัน เขาจะเริ่มจากการฝึกความเร็วก่อนเพื่อให้ร่างกายคุ้นเคย และเป้าหมายของเขาก็คือวิ่งในความเร็วของเขาให้ได้ระยะไกลขึ้น และรักษาความเร็วให้ได้นานขึ้น เคอร์บี้กล่าว

การวอร์มเป็นเรื่องเรียบง่าย
นักวิ่งทั้งสามท่านวิ่งจ็อกกิ้ง (บางทีก็วิ่งช้าๆ เหมือนแค่ลากเท้าไปเรื่อยๆ เคอร์บี้เล่า) และค่อยๆ เพิ่มความเร็วขึ้นเป็นเวลา 30 นาที เดซิซาและทีมงานของเขาจะมีโปรแกรมออกกำลังกายก่อนวิ่งที่ค่อนข้างเคร่งครัด เป็นเวลาประมาณ 30 นาที “ดูแล้วเหมือนเต้นอยู่” เคอร์บี้กล่าว

การทำงานเป็นทีมสำคัญ แต่การวิ่งเดี่ยวก็สำคัญด้วย
นักวิ่งจะวิ่งกับคนอื่นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความรู้สึกเป็นทีม เดซิซามีทีมงาน 6-8 คนที่คอยให้การสนับสนุน เวลาวิ่งระยะไกลคิปโชเกจะวิ่งพร้อมกับคน 60 คน ประกอบไปด้วยคนในพื้นที่ นักวิ่งอาชีพ และโค้ชแต่ถ้าต้องการออกกำลังกายอะไรเป็นพิเศษก็อาจจะวิ่งคนเดียวหรือมีเพื่อนวิ่งแค่ 2-3 คน “เซอร์เซเนย์วิ่งคนเดียวเป็นส่วนมาก” เคอร์บี้กล่าว

การนอนเพิ่มประสิทธิภาพ
นักวิ่งทั้งสามไม่มีการคูลดาวน์เหมือนคนอื่นๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดของการซ้อมหลังจากวิ่งมาแล้วสัปดาห์ละกว่า 100 ไมล์ก็คือการนอน“เซอร์เซเนย์นอนเยอะมาก เวลาที่ไม่ได้วิ่งก็คือนอน” เคอร์บี้กล่าว ส่วนเดซิซาใช้เวลาว่างในการพักผ่อน และคิปโชเกใช้เวลาไปกับการพักผ่อนและใช้ชีวิตประจำวัน “นอกจากนอนพักและดื่มชากับเพื่อนๆ แล้วเขาก็ทำงานบ้านด้วย เช่นตักน้ำจากบ่อหรือทำงานรอบๆ แคมป์” เคอร์บี้กล่าว ส่วนมากจะมีวันพัก 1 วันต่อสัปดาห์ หรือเท่าที่ต้องการ บางคนก็นวดสัปดาห์ละ 3 ครั้งในช่วง 1 สัปดาห์หลังจากซ้อมหนัก ๆ

การวิ่งคือทุกอย่าง
นักวิ่งสามคนนี้ไม่ยกน้ำหนัก ไม่เล่นโยคะ พวกเขาวิ่งอย่างเดียว “ถ้าอยากวิ่งได้เร็วก็ต้องวิ่ง” วิลคินส์กล่าว แม้ว่าโปรแกรมซ้อมของแต่ละคนจะต่างกัน แต่ก็มีความเหมือนกันตรงที่ปรับโปรแกรมไปเรื่อยๆ ตามจุดเด่นและจุดอ่อนของแต่ละคน “นักวิ่งที่เก่งมากๆ มักจะขาดเรื่องความยืดหยุ่น” วิลคินส์กล่าว หลายคนอาจไม่ทราบว่ามีงานวิจัยพบว่าการขาดความยืดหยุ่นอาจทำให้วิ่งได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น “ทฤษฎีก็คือขาที่แข็งจะเสียพลังงานน้อยกว่า” วิลคินส์กล่าว (เขาเปรียบเทียบกับสปริงที่แข็งจะเด้งกลับได้แรงกว่าสปริงที่อ่อน)

อาหารไม่ต้องเคร่งครัด
เนื่องจากทั้งสามเป็นนักวิ่งมืออาชีพ พวกเขารู้ดีว่าต้องกินอะไรถึงจะมีแรงวิ่งมากที่สุด วิลคินส์และเคอร์บี้แนะนำให้นักวิ่งกินอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตให้ได้ที่50-75% และ 20-30% เป็นโปรตีน ส่วนที่เหลือจะเป็นอะไรก็ได้ นักวิทยาศาสตร์มีคำแนะนำเรื่องสารอาหารหลังการซ้อม อย่างเช่นต้องกินโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตทันทีหลังจากซ้อมหนัก และบางครั้งหากไม่สามารถกินได้ทันทีหลังซ้อมก็จะให้ดื่มเครื่องดื่มแทน

วิทยาศาสตร์พัฒนาประวัติศาสตร์  – ตัวเลขบ่งบอกวิธีวิ่งให้ดีขึ้น
ตั้งแต่เริ่มต้นภารกิจนี้ วิลคินส์และเคอร์บี้ได้ไปพบนักวิ่งทั้งสามหลายครั้ง และวัดค่าต่างๆ อย่างละเอียดเพื่อดูความเปลี่ยนแปลง รวมทั้ง V02 MAX การสูญเสียน้ำระหว่างวิ่ง การเก็บพลังงานในกล้ามเนื้อ และอื่นๆ และในตอนที่ไม่ได้อยู่กับนักวิ่งก็จะติดต่อกันเสมอผ่านโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล ระหว่างซ้อมนักวิ่งใส่นาฬิกาจีพีเอสซึ่งตรวจจับการเต้นของหัวใจ (และมีสายรัดหน้าอกด้วย) หลังการวิ่ง โค้ชและนักวิทยาศาสตร์จะมาพิจารณาข้อมูลด้วยกันเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของนักวิ่ง และนำข้อมูลนี้ไปปรึกษากับโค้ชเพื่อปรับแผนการซ้อม

เชื่อมั่นในข้อดีของการอยู่ที่สูง
นักวิ่งทั้งสามวิ่งและใช้ชีวิตอยู่ในที่สูงเป็นส่วนมาก แคมป์ของคิปโชเกอยู่ในเคนยา เดซิซาอยู่เอธิโอเปียส่วนเซอร์เซเนย์ใช้เวลาในเอริเทรีย (บ้านของเขา) และสเปน (บ้านของโค้ช) “เนื่องจากที่สูงมีปริมาณอ็อกซิเจนน้อยกว่า ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มตัว ดังนั้นเลือดจึงส่งอ็อกซิเจนสู่กล้ามเนื้อได้มากกว่า” วิลคินส์อธิบาย “เมื่อกล้ามเนื้อได้อ็อกซิเจนมากก็จะทำงานได้ดีขึ้น วิ่งเร็วขึ้น ไกลขึ้น” เซลล์เม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นสามารถคงจำนวนไว้ได้ถึง 2 สัปดาห์แม้ไม่อยู่ในที่สูงแล้ว ดังนั้นจึงได้เปรียบมากกว่าการวิ่งที่ระดับน้ำทะเล

จุดเติมพลังขึ้นอยู่กับแต่ละคน และต้องแม่นยำ
นักวิทยาศาสตร์เน้นเรื่องการป้องกันการสูญเสียน้ำจากเหงื่อมากเกินไปและการรักษาพลังงาน โดยเน้นที่ 48 ชั่วโมงก่อนแข่ง และ 24 ชั่วโมงหลังซ้อมหนัก สิ่งที่สำคัญก็คือเติมพลังด้วยอะไร เติมอย่างไร และต้องการอะไร “เรามีเครื่องดื่มคาร์โบไฮเดรตของนักวิ่งแต่ละคนที่ปรุงขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลของนักวิ่งว่าแต่ละคนเสียน้ำเท่าไหร่ ดูดซึมสารอาหารได้มากเท่าไหร่” เคอร์บี้กล่าว นอกจากนั้นยังมีคาร์โบไฮเดรตหลายชนิด ปริมาณแตกต่างกันไป ปริมาณน้ำต่างกัน และรสชาติต่างกัน

ความถี่ในการเติมพลังต้องแม่นยำ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของนักวิ่งแต่ละคน และจากการทดลองหลายครั้ง ทีมงาน BREAKING2 ได้พบช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเติมพลังให้นักวิ่งระหว่างวิ่ง ก็คือทุก 2.4 กิโลเมตร (ทุกครั้งที่ครบรอบสนามของAUTODROMO NAZIONALE MONZA COMPLEX ที่มิลาน อิตาลี)“ดังนั้นทุก 7 นาทีโดยประมาณ นักวิ่งจะต้องดื่มเครื่องดื่มนี้เพื่อเติมน้ำและพลังงาน” เคอร์บี้กล่าว และนี่เป็นเรื่องใหม่สำหรับนักวิ่ง เพราะก่อนหน้านี้นักวิ่งจะได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่ถึง 60 กรัมต่อชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายคุ้นกับการย่อยคาร์โบไฮเดรตในตอนวิ่ง

วิลคินส์ และเคอร์บี้ รวมถึงทุกคนในทีม BREAKING2 จะใช้ข้อมูลและประสบการณ์เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิ่งทั้งสาม “เรารวบรวมข้อมูลมาตั้งแต่เริ่มต้น และเราได้เรียนรู้อะไรมากมาย เพื่อให้เราพร้อมสำหรับวันแข่งที่สุด” วิลคินส์กล่าว “นักวิ่งส่วนมากไม่มีโอกาสได้รับการดูแลที่เฉพาะบุคคลขนาดนี้ และไม่ได้มีการทดสอบและโค้ชในระดับนี้” เมื่อรวมการดูแลอย่างพิเศษเข้ากับความแข็งแกร่งของนักวิ่ง ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อม “ในเชิงวิทยาศาสตร์ นักวิ่งเหล่านี้ต้องวิ่ง 26.2 ไมล์ ด้วยความเร็ว 13.1 ไมล์ต่อชั่วโมง” วิลคินส์กล่าว “และนั่นก็น่าทึ่งมาก”

เกี่ยวกับไนกี้ อิงค์.
ไนกี้ อิงค์. มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองบีเวอร์ตัน รัฐโอเรกอน ซึ่งไนกี้เป็นผู้นำของโลกในด้านการออกแบบ การทำการตลาดและการจัดจำหน่ายรองเท้า เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์สำหรับการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายหลากหลายชนิด ไนกี้ อิงค์. มีบริษัทลูกในเครือคือคอนเวิร์ส อิงค์ ซึ่งรับหน้าที่ออกแบบ การทำการตลาด และจัดจำหน่ายรองเท้า เครื่องแต่งกายไลฟ์สไตล์ และเฮอร์ลี่ย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบการออกแบบ การทำการตลาด และการจัดจำหน่ายรองเท้า เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์สำหรับเด็กและสำหรับผู้เล่นกระดานโต้คลื่นโดยเฉพาะ ข้อมูลเพิ่มเติม เอกสารด้านรายได้และเอกสารด้านการเงินอื่นๆสามารถเข้าชมได้ที่ http://investors.nike.com ผู้สนใจรับข่าวสารสามารถเข้าชมได้ที่ http://news.nike.com/ หรือติดตามทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการที่ @Nike