Share Button

เบนซ์ จิรโรจน์ AF12 หนึ่งในคู่จิ้นสุดฮอต มาริว เบนซ์ ชวนแฟนๆท่องเที่ยวศึกษา หนึ่งในโครงการในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่ออยู่หัว
img_1759
เป็นอีกวิธีในการศึกษาพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชนชาวไทย โดย กิจกรรมครั้งนี้ เบนซ์ เลือกเดินทางตามรอยโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ในวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2559 รับจำนวนจำกัดเพียง 50 ท่าน ค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม 8,900 บาท/ ท่าน

เกี่ยวกับ โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงซื้อที่ดินจากราษฎรบริเวณอ่างเก็บน้ำ หนองเสือ ประมาณ ๑๒๐ ไร่ และต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก ๑๓๐ ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด ๒๕๐ ไร่ โดยมีพระราชดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.ท่า ยาง จ.เพชรบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงมาปลูกไว้ที่นี่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นต้นมา และพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้อง ทรงงานที่วังไกลกังวลให้นำมาปลูกไว้ที่นี่ พระราชทานชื่อโครงการว่า“โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ”

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร
3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแปลงหรือมาช่วยงานพระองค์

การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ ประกอบด้วย
– การใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทดแทน
– การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ
– การสาธิตการปลูกสบู่ดำ
– การปลูกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ
– แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตชมพู่เพชรสายรุ้ง
– แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
– การทำปุ๋ยหมัก
– การปลูกไม้ผล พืชไร่ ประกอบด้วย แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก มะละกอ มะนาว ฟักทอง กล้วย อ้อย มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวห้าว ฯลฯ
– การปลูกพืชผัก ประกอบด้วย มันเทศ กระเพรา โหระพา พริกพันธุ์ซูปเปอร์ฮอต มะเขือเทศราชินี กระเจี๊ยบเขียว วอเตอร์เครส มะระขี้นก ผักหวานบ้าน ฯลฯ

เป้าหมายของโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจของ อ. ท่ายาง เพชรบุรี โดยเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูก แล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วมดูแลด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด คุณดิสธร บอกว่า โครงการชั่วหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสโดยคาดว่าอนาคตจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม

ภาพจาก : @benzjiclub
ข้อมูลจาก : project561.com

Facebook Comments
Share Button