ละครใบ้เรื่อง “นายเข้ม ใจดี” ละครใบ้เรื่องยาวเรื่องแรกของไทย ชมฟรี 16-18 กันยายนนี้
ละครใบ้เรื่อง “นายเข้ม ใจดี” วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2559 เวลา 17.30 น. บริเวณโถงหน้าโรงละครศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ การแสดงละครใบ้เรื่องยาวเรื่องแรกของไทย เขียนบทและกำกับการแสดงโดย ผู้กำกับ นายไพฑูรย์ ไหลสกุล และ นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา พิธีกร พบกับตัวแทนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ตัวแทนจากโครงการ 100 ปีชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ตัวแทนจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศ – นาคะประทีป ,ตัวแทนจากสถาบันคนหน้าขาว,
ละครใบ้เรื่อง นายเข้ม ใจดี เปิดให้บุคคลทั่วไป สำรองที่นั่งเข้าชม ฟรี ที่ 062-7570440 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
รอบการแสดงวันศุกร์ ที่ 16 กันยายน 2559 เวลา 19.00 น.
รอบการแสดงวันเสาร์ ที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 19.00 น.
รอบการแสดงวันอาทิตย์ ที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 14.30 น.
ประวัติ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ศ. ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เคยเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นเจ้าของข้อเขียน “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ป๋วยได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2508 และได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสาคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในวาระ 100 ปี ชาตกาล 9 มีนาคม 2559
ป๋วยเกิดที่ตลาดน้อย เยาวราช เข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกภาษาฝรั่งเศส เมื่อเรียนจบชั้น ม.8 เริ่มอาชีพแรกด้วยการเป็นเป็นมาสเตอร์หรือครู สอนวิชาคานวณและภาษาฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ.2477 ป๋วยสมัครเข้าเรียนต่อเป็นนักศึกษารุ่นแรกที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เขาใช้เวลาเรียนอยู่ 4 ปีก็สาเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมายและการเมือง หลังจากนั้นป๋วยย้ายมาทางานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศส ให้แก่อาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในเดือนเมษายน พ.ศ.2481 ป๋วยสอบชิงทุนรัฐบาลได้ไปเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลังที่ London School of Economics and Political Science มหาวิทยาลัยลอนดอน เขาใช้เวลา 3 ปีก็สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยสอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาเกียรตินิยม อันดับหนึ่งด้วยกันในปี พ.ศ.2485 จากผลการเรียนอันดีเด่นของป๋วย ทำให้ได้รับทุนลีเวอร์ฮูล์ม สามารถ ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้ทันที ระหว่างที่ป๋วยกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น รัฐบาลจอมพล ป. เข้ากับฝ่ายอักษะ ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ป๋วยจึงตัดสินใจทำงานเพื่อชาติ โดยเข้าร่วมเป็นเสรีไทยสายอังกฤษเพราะไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามของรัฐบาลจอมพล และสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพบก อังกฤษ ในช่วงแรกป๋วยได้รับยศเป็นร้อยเอก มีชื่อจัดตั้งว่า “เข้ม”
ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดีส่งป๋วยไปอังกฤษเพื่อไปเจรจาให้รัฐบาลอังกฤษ ยอมรับว่าขบวนการเสรีไทยเป็นรัฐบาลอันชอบธรรมของไทย ทานองเดียวกับที่สหรัฐได้รับรองมาก่อนแล้ว และเจรจาให้อังกฤษยอมปล่อยเงินตราสารองที่รัฐบาลไทยฝากไว้ที่ธนาคารกลางอังกฤษ
เมื่อสงครามโลกยุติ ป๋วยได้รับยศพันตรีแห่งกองทัพบกอังกฤษ ได้เป็นหนึ่งในผู้แทนไทยเดินทางไป เจรจาทางการทหารและการเมืองกับฝ่ายอังกฤษที่นครแคนดี ประเทศศรีลังกา เมื่อเหตุการณ์ทุกอย่างสงบลง ป๋วยได้คืนยศทหารแก่กองทัพ อังกฤษ แล้วกลับไปแต่งงานกับมาร์เกรท สมิธ ในปี พ.ศ.2489 และเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน
ปี พ.ศ.2491 ป๋วยได้เรียนสาเร็จปริญญาเอกโดยใช้เวลาสามปีทาวิทยานิพนธ์ “เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการ ควบคุมดีบุก” ในปีถัดมา ป๋วยเดินทางกลับประเทศไทย เข้ารับราชการครั้งแรกในตาแหน่งเศรษฐกร กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยฝ่ายวิชาการของปลัดกระทรวงการคลัง และกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ.2496 ป๋วยได้รับแต่งตั้งให้ดารง ตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อป๋วยขัดแย้งกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กรณีไม่ยอมโอนอ่อนต่อข้อเสนอของท่านจอมพลในเรื่องการยกเว้นการปรับสหธนาคารกรุงเทพ และขัดแย้งกับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ กรณีไม่ยอมเปลี่ยนโรงพิมพ์ธนบัตรตามที่นายตารวจผู้นี้ร้องขอ ทำให้ป๋วยต้องหลุดจากตำแหน่งรองผู้ว่าการฯ และเดินทางไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและการคลังประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน เพื่อให้ห่างจากผู้ครองอำนาจในบ้านเมือง
เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง เขากลับมารับตำแหน่งผู้อานวยการสานักงบประมาณ คนแรก วางรากฐานการงบประมาณของไทย ต่อมาเมื่อนายโชติ คุณะเกษม จำต้องออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จอมพลสฤษดิ์ได้โทรเลขไปถึง ป๋วยซึ่งกาลัง ประชุมคณะรัฐมนตรีดีบุกโลกที่กรุงลอนดอน เสนอให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ป๋วยปฏิเสธ ไม่ขอรับตำแหน่งนี้ เพราะเมื่อตอนเข้าเป็นเสรีไทย ได้สาบานไว้ว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ จนกว่าจะเกษียณอายุราชการ เพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้หวังแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นเสรีไทย จอมพลสฤษดิ์จึงแต่งตั้งให้ป๋วยเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อานวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังอีกตาแหน่งหนึ่ง ป๋วยจึงควบคุมทั้งนโยบายด้านการเงิน การคลังและงบประมาณของประเทศ นอกจากนั้น ป๋วยยังมีบทบาทสาคัญในการผลักดันให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการสภาพัฒน์ เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
ในปี พ.ศ.2507 ป๋วยรับตำแหน่งคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะเขาเห็นความสาคัญของการศึกษา ไม่เพียงเท่านั้นในปี พ.ศ.2512 ยังได้ตั้งโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร เพื่อส่งบัณฑิตออกไปเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชนบท นอกจากนั้นเขายังตั้งมูลนิธิบูรณะชนบทเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้เหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ ในทางวิชาการ เมื่อป๋วยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ.2509 เพื่อสนับสนุนการแปลตาราต่างประเทศและการเขียนตาราสำหรับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร รัฐประหารตัวเองในปี พ.ศ.2514 ป๋วยเขียนจดหมายนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึงนายทานุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ เรียกร้องให้มีประชาธิปไตย และการเลือกตั้งโดยเร็ว จดหมายฉบับนี้เอง เป็นแรงกระตุ้นสาคัญให้นิสิตนักศึกษาตื่นตัวจนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ในปี พ.ศ.2517 ป๋วยผลักดันให้เกิดหอศิลป พีระศรี หอศิลป์แห่งแรกในเมืองไทยขึ้นเป็นผลสาเร็จ หลังจากที่พยายามอยู่นาน เนื่องจากต้องการสนับสนุนงานศิลปะของศิลปินแขนงต่างๆ ให้ก้าวหน้า ดังที่ เขาได้ริเริ่มให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสะสมงานศิลปะมาตั้งแต่เป็นผู้ว่าการ นอกจากที่ป๋วยจะเป็นกวีแต่งโคลงกลอนแล้ว เขายังชอบเป่าขลุ่ยและเล่นร่วมวงดนตรีไทยกับเพื่อนร่วมงานด้วย
ในปี พ.ศ. 2518 ป๋วยได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา จากเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 กลุ่มบุคคลในเครื่องแบบและกลุ่มกระทิงแดงได้ทำการปิดล้อมและใช้อาวุธยิง ถล่มเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยไม่สนใจต่อขอร้องของผู้ชุมนุมภายในที่ต้องการเจรจาโดยสันติ มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บและล้มตายเป็นจานวนมาก นักศึกษาบางคนถูกจับแขวนคอ บางคนถูกเผาทั้งเป็น ป๋วยในนามอธิการบดีได้แถลงการณ์ลาออกในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่มีคนจานวนมากบาดเจ็บและล้มตายภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของท่าน ป๋วยเดินทางออกนอกประเทศ เนื่องจากฝ่ายขวากำลังล่าตัวป๋วย ด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง นักศึกษา เป็นคอมมิวนิสต์ที่คิดจะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตั้งตัวเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี ในเวลาเย็นวันนั้นเกิดรัฐประหารขึ้นโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ เมื่อป๋วยอยู่นอกประเทศก็ได้เดินทางไปพบคนไทยในต่างประเทศ และบุคคลสาคัญในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน เดนมาร์ก ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ เหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศไทยเวลานั้น เพื่อเรียกร้องให้เกิดประชาธิปไตย ในเมืองไทยอย่างสันติวิธี ต่อมาในปี พ.ศ.2520 ป๋วยเดินทางไปให้การต่อคณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสืบพยานเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ 6 ตุลา กันยายน พ.ศ.2520 ป๋วยได้ล้มป่วยด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ต้องรักษาตัวอยู่ใน โรงพยาบาลนานนับเดือน อาการเส้นโลหิตในสมองแตก ได้ส่งผลกระเทือนสมองส่วนที่แปลความคิดเป็นคาพูด ทำให้ไม่สามารถ พูดได้อย่างคนปกติ พูดออกเสียงได้เล็กน้อยเท่านั้น ในช่วงบั้นปลายชีวิต ป๋วยใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในบ้านเก่าแก่ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อเริ่มฟื้นตัว จดหมายฉบับแรก ๆ ที่ป๋วยริเริ่มเขียนเองได้คือฉบับที่เขียนถึงธงชัย วินิจจะกูล มีข้อความว่า “ประชาธิปไตย เสรีภาพ ของประชาชน ความสันติสุขและผาสุกของประชาชน เป็นสิ่งที่ผมปรารถนา” ป๋วยถึงแก่กรรมที่บ้าน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เนื่องจากเส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้องโป่งแตก เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2542 รวมอายุได้ 83 ปี แม้เขาจะตายจากไปเกือบ 2 ทศวรรษ แต่คุณความดีและคุณูปการยังคงอยู่กับสังคมไทย ดังคำกล่าวขานถึงเขาต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะเป็น “คนที่ซื่อสัตย์พอที่จะเรียกร้องให้ผู้อื่นซื่อสัตย์ตามได้” “ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน” “คนตรงในประเทศคด” หรือ “คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ”