Share Button

ครั้งแรกในเมืองไทยสำหรับงานนิทรรศการ“ฉายาลักษณ์สยาม”ที่รวมผลงานช่างภาพระดับตำนานของโลกยุคแรกเมื่อ150ปีก่อนไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดนิทรรศการประเภทนี้มาภาพขนาดใหญ่ในงานนี้ คือ สำเนาภาพที่อัดขยายจากภาพ ต้นฉบับทุกภาพเป็นนิทรรศการที่แสดงภาพถ่ายโบราณตั้งแต่เมื่อแรกมีการถ่ายภาพในเมืองไทย จนสิ้นรัชกาลที่ 5 (คัดเลือกภาพโดยหม่อมราชวงศ์นริศราจักรพงษ์ และ ไพศาลย์เปี่ยมเมตตาวัฒน์) โดยคัดเลือก ภาพที่ไม่เคยเผะแพร่มาก่อนในเมืองไทยมาจัดแสดงในงาน 150 ภาพ มีภาพน่าสนใจมากมาย
อาทิ ภาพพระชายามุสลิมคนแรกและคนเดียวของ ร.4, ภาพนายแพทย์ประจำพระองค์รัชกาลที่ 5,ภาพรัชกาลที่ 4 ฉายร่วมกับพระราชโอรสและพระราชธิดา, ภาพโรงละครโรงแรก, ต้นกำเนิดสตูดิโอ, ภาพศาลยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ต้องมีผู้พิพากษาชาวต่างชาติตัดสินความด้วยรวมไปถึง ภาพนู๊ดยุคแรก อันเป็นมุมมองอันละเอียดอ่อนที่ช่างภาพต่างประเทศได้เก็บประวัติศาสตร์ชาติไทยไดสวยงามน่าทึ่งมาก ซึ่งงานนิทรรศการนี้เป็นการรวมผลงานของช่างภาพระดับตำนานโลกถึง 15 ท่าน
20160822jiggabanus_photo_rgb-digital_version
ในงานนิทรรศการภาพถ่ายโบราณสยามมีจำนวนภาพถ่ายกว่า150 ภาพซึ่งต้นฉบับเก็บอยู่ในต่างประเทศภาพถ่ายโดยช่างภาพต่างชาติและคนไทยยุคบุกเบิกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในราชสำนักสยามในเวลาต่อมาภาพเก่าที่คนไทยไม่เคยเห็นเป็นการเปิดประวัติศาสตร์ในหลายแง่มุมให้กระจ่างไม่ว่าจะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่4 และรัชกาลที่5 พระฉายา พระรูปเจ้านายภาพขุนนางและราษฎรภาพสถาปัตยกรรมและทิวทัศน์เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้วภาพเหตุการณ์และพระราชพิธีสำคัญวิถีชีวิตคนไทยในกรุงและชนบทและนาฏศิลป์โขนละครลิเกจากภาพโบราณได้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อในมุมมองร่วมสมัยด้วยผลงานของศิลปินที่ทำให้เห็นมิติและความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปของเมืองมหาชนเศรษฐกิจและสังคมวิถีชีวิตการสัญจรทางน้ำและบกศิลปะการแสดงรวมไปถึงเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่สำคัญสร้างวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ต่อยอดการตีความและเป็นการสืบต่ออายุภาพเหล่านี้


ซึ่งนิทรรศการนี้จะมีการแบ่งหมวดหรือ section ออกเป็นดังนี้
1.หมวดภาพบุคคล หรือ ภาพ portrait คือภาพที่ถ่ายในห้องภาพหรือสตูดิโอของช่างภาพนั้นๆ จะมีพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มากมายหลายภาพ พระฉายาลักษณ์หรือพระรูปของพระบรมวงศานุวงศ์ ภาพขุนนางหรือข้าราชการ ชาวต่างชาติที่เข้ามารับราชการหรือทำงานในสยาม ตลอดถึงราษฏรทั่วไปในพระนครและหัวเมืองเกือบ 60 ภาพ รวมตลอดถึง ภาพนุ้ดยุคแรกด้วย
2.หมวดพระราชพิธีหรือเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งจะมีภาพพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีพระบรมศพหรือ พระศพเจ้านาย คือเป็นภาพพระเมรุมาศกลางท้องสนามหลวง พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีลงสรงสนานและเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์แรก ภาพเหตุการณ์การเสด็จเยือนสยามของ มกุฎราชกุมารรัสเซียและอื่นๆ อีกมาก
3.หมวดนาฎศิลป์และการแสดง โขนละครลิเกนับเป็นสิ่งที่ช่างภาพแต่ละท่านให้ความสนใจที่จะถ่ายภาพเพราะฉะนั้น ช่างภาพเกือบทุกท่านต้องถ่ายภาพละครไทย ซึ่งในนิทรรศการนี้ จะมีภาพหลายภาพที่น่าชมยิ่ง
4.หมวดวิถีชีวิตชนชาวสยาม ส่วนใหญ่เป็นภาพหาชมยาก เนื่องจากช่างภาพหลายท่านไม่ได้พำนักอยู่ในเมืองไทยนานพอที่จะออกไปถ่ายภาพเหล่านี้ ภาพที่มาจัดแสดงจึงหาชมยาก โดยเฉพาะชาวบ้านร้านตลาดในหัวเมือง เช่น บรรยากาศตลาดทุเรียนที่ขายมังคุคด้วยเช่นสมัยนี้
5.หมวดสถาปัตยกรรม ทิวทัศน์และวัดวาอาราม ภาพที่มาจัดแสดงในงานนี้ที่น่าสนใจน่าจะเป็นภาพมุมกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยาหลายภาพ ที่ถ่ายในหลายช่วงของแม่น้ำ นับตั้งแต่บริเวณถนนตกมาจนถึงบริเวณพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเราจะได้เห็นพัฒนาการของการขยายเมืองหลวงตั้งแต่ยุคนั้น เปรียบเทียบกับปัจจุบัน ได้เห็นชุมชนริมแม่น้ำที่เป็นเรือนแพและเรือนไทยมากมาย ได้เห็นการสัญจรทางน้ำที่คับคั่ง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีภาพวัดวาอารามหลายแห่งที่ได้เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน อย่างพระปรางค์วัดอรุณ คือ สิ่งที่ช่างภาพทุกท่านต้องไปถ่ายในสมัยนั้น ทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของ วัดนี้ได้อย่างชัดเจน

รายชื่อช่างภาพ:บาทหลวงลาร์โนดี, เฟเดอร์ เจเกอร์, ปิแอร์ รอซิเอร์, คาร์ล บิสมาร์ค, ฟรานซิส จิตร, จอห์น ทอมสัน, เฮนรี่ ชูเรน, กุสตาฟ ริชาร์ดแลมเบิร์ต, แม็กซ์มาร์ติน, วิลเลียม เคนเนทลอฟตัส, ฟริทซ์ ชูมานน์, โจคิม แอนโทนิโอ, โรเบิร์ต เลนซ์, เอมิลกรูท และ ไคชิ อิโซนากะ

ศิลปินร่วมสมัย:เอกลักษณ์เพียรพนาเวช, ขวัญชัยลิไชยกุล, เล็กเกียรติศิริขจร, นักรบมูลมานัส, ไพโรจน์ธีระประภา, พิเชษฐ์กลั่นชื่น, พินิตย์พันธประวัติ,สืบสกุลศรัณพฤฒิ และ อุกฤษณ์ สงวนให้
ภัณฑารักษ์รับเชิญ: หม่อมราชวงศ์นริศราจักรพงษ์ และ ไพศาลย์เปี่ยมเมตตาวัฒน์
ภัณฑารักษ์ร่วม: พิชญาศุภวานิช

ที่สำคัญหนังสือประกอบนิทรรศการนี้ จะเป็นแคตตาล็อกสำคัญของนิทรรศการนี้ที่มีวางจำหน่ายในงานด้วย มีความหนาเกือบ 400 หน้าพร้อมภาพถ่ายโบราณเกือบ 700 ภาพมีทั้งเล่มภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ราคามนงาน 1800 บาท ราคาปกติ2000 บาท
นิทรรศการภาพถ่าย “ฉายาลักษณ์สยาม” ระลึกอดีต มองปัจจุบัน ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 – 2453 วันที่ 9 กันยายน – 7 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9
พิธีเปิด: 8 กันยายน 2559 เวลา 18.00 น. ณ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9
เวลาทำการ 10:00 น. – 21:00 น. (ทุกวันยกเว้นวันจันทร์)
โทรศัพท์ 02 214 6630 โทรสาร 02 214 6639
www.bacc.or.th
www.facebook.com/baccpage

จัดโดย: ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครและ
บริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ จำกัด
ผู้สนับสนุนหลัก: บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ผู้สนับสนุนโครงการ: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์,
สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

คำบรรยายสั้นๆเกี่ยวกับช่างภาพทั้ง15 ท่าน(มีแบบยาว)
1.บาทหลวงลาร์โนดี ท่านเป็นคนแรกที่ฉายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลี่ 4 และสมเด็จ พระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นล่ามหลวงไปกับคณะราชทูตไทย ทั้งสองคณะที่ไปฝรั่งเศสในปี 2404 และ 2410
2.เฟเดอร์ เจเกอร์ ท่านนี้เป็นท่านแรกที่ถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในแบบสามมิติ หรือ แบบถ้ำมองที่ต้องใช้กล้องสองตามองภาพ ในนิทรรศการนี้ เราจะเห็นผลงานท่านหลายภาพ
3.ปิแอร์ รอซิเอร์ ท่านนี้ก็สำคัญเพราะเป็นช่างภาพที่ชำนาญในการถ่ายภาพแบบ สามมิติเช่นกัน ภาพของเขามีการนำไปวาดเป็นภาพลายเส้นลงใน หนังสือของอองรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่โด่งดัง
4.คาร์ล บิสมาร์ค ท่านนี้มาเมืองไทยไม่กี่เดือน แต่ได้ถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 4 กับพระราชโอรสและพระราชธิดาที่สำคัญมาก ซึ่งคนไทยน่าจะยังไม่เคยเห็น
5.ฟรานซิส จิตร หรือ หลวงอัคนีนฤมิตร ช่างภาพคนไทยคนเดียวในนิทรรศการนี้ ผลงานของเขา ไม่ต้องพูดถึง ยิ่งใหญ่ มีมากมายนับหมื่นชิ้นยัง เก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงเทพฯ ที่รอการชำระและ เผยแพร่ นิทรรศการนี้มีผลงานของท่านมากมายที่ไม่มีที่ เมืองไทย
6.จอห์น ทอมสัน ท่านนี้มีชื่อเสียงมาจากนิทรรศการคราวที่แล้วที่หลายท่านได้เห็น ความชัดของภาพไม่ต้องพูดถึง อยู่ในระดับเอชดี คราวนี้เราโชว์ ภาพที่ต่างจากครั้งที่แล้ว
7.เฮนรี่ ชูเรน ท่านนี้เข้ามาในต้นรัชกาลที่ 5 จากสิงคโปร์ ได้ถ่ายพระบรม ฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 เมื่อแรกครองราชย์และวิวทิวทัศน์ของ กรุงเทพฯ ที่สวยมาก
8.กุสตาฟ ริชาร์ดแลมเบิร์ต นี้ก็เป็นช่างภาพในราชสำนักอีกท่านที่มีผลงานในต้น รัชกาลที่ 5 และได้รับพระราชทานเหรียญบุษปมาลาด้วย
9.แม็กซ์มาร์ติน ประวัติท่านมีน้อยมาก แต่ผลงานด้านการถ่ายภาพบุคคใน สตูดิโอน่าชมมาก
10.วิลเลียม เคนเนทลอฟตัส ท่านนี้มีผลงานภาพวิถีชีวิตคนไทยมากมาย รวมทั้ง ทิวทัศน์กรุงเทพฯ
11.ฟริทซ์ ชูมานน์ ท่านนี้มาอยู่ในเมืองไทยแค่ปีเดียว หลักฐานมีน้อยมาก แต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพในราชสำนักอีกท่าน
12.โจคิม แอนโทนิโอ ท่านนี้มีผลงานนับพันภาพและมีภาพเมืองไทยที่พิมพ์เป็น โปสการ์ดที่เราๆ เห็นกันมากที่สุด ซึ่งจะเห็นชื่อเขาติด อยู่ที่โปสการ์ดว่า เจ แอนโทนิโอ ห้องภาพของเขาอยู่ที่ถนน เจริญกรุง ตรงหน้าโรงเรียนอัสสัมชัญในปัจจุบัน
13.โรเบิร์ต เลนซ์ ช่างภาพในราชสำนักสยามผู้ยิ่งใหญ่ที่สร้างผลงานไว้มาก มายนับพันๆ ภาพ เป็นข่างภาพในดวงใจของนักสะสมภาพ เก่าทุกคน คุณภาพความคมชัดและสีสันของภาพเก่าที่ผลิต โดยห้องภาพนี้ แม้จะผ่านไปเป็นร้อยปี แต่ความคมชัดเหมือน ถ่ายเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ในนิทรรศการนี้ เราได้จัดแสดงภาพที่ไม่ค่อย แพร่หลาย
14.เอมิลกรูท ท่านนี้รับช่วงต่อจากโรเบิร์ต เลนซ์ในปลายรัชกาลที่ 5 และสร้าง ผลงานต่อมาถึงรัชกาลที่ 7 เสียชีวิตเมื่อต้นรัชกาลปัจจุบัน ใช้ชีวิต ยาวนานมากที่สุดในไทย
15.ไคชิ อิโซนากะ เป็นช่างภาพญี่ปุ่นที่มาเมืองไทยในปลายรัชกาลที่ 5 มีผลงานถ่าย ภาพบุคคลไว้มาก

ประวัติช่างภาพ
1. บาทหลวงลาร์โนดีหรือฌองแบ๊บติสท์ฟรังซัวส์หลุยส์ลาร์นอดี (2362-2442)เกิดทางเหนือของเมืองตูลูสในฝรั่งเศสเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาในสมาคมเพื่อพันธกิจต่างประเทศแห่งกรุงปารีสต่อมาในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2385 ท่านได้บวชเป็นบาทหลวงในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2387เขาเดินทางออกจากฝรั่งเศสและถึงสยามในเดือนมีนาคมพ.ศ.2388
ในเดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2388เขาได้ไปปกครองวัดอยู่ที่อำเภอปากเพรียวจังหวัดสระบุรีก่อนที่จะเข้ามาเป็นเจ้าอาวาสที่โบสถ์เซนต์โยเซฟที่พระนครศรีอยุธยาตั้งแต่พ.ศ. 2394จนถึงพ.ศ. 2404
ในระหว่างที่เขาอยู่ในสยามเขาได้ทดลองประดิษฐ์เครื่องโม่แรงดันน้ำประดิษฐ์โทรเลขไฟฟ้าเรียนรู้วิธีการเคลือบทองและได้ฝึกหัดการถ่ายภาพนอกจากนี้เขายังทำหน้าที่เป็นล่ามหลวงในคณะราชทูตสยามถึง 2 คณะเดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับฝรั่งเศสในพ.ศ. 2404และ2410
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีที่เขาเป็นผู้ฉายนั้นเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของราชวงศ์แรกๆและรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ได้ส่งไปเป็นเครื่องมงคลราชบรรณาการแก่จักรพรรดินโปเลียนที่3ด้วย

2. เฟเดอร์เจเกอร์(2359-2443) เป็นช่างภาพที่เป็นที่รู้จักน้อยที่สุดในสิงคโปร์และสยามเขาเริ่มถ่ายภาพขนาดใหญ่ครั้งแรกที่สิงคโปร์ในพ.ศ. 2400ซึ่งจะพบเห็นได้ที่Ethnographic Museumณกรุงเบอร์ลินเขาได้ถ่ายภาพแบบสเตริโอหรือภาพสามมิติของพระมหากษัตริย์ไทยและพระราชวงศ์ภาพแรกในพ.ศ2404เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระราชวงศ์สยามอันได้แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้านิลรัตนกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชาหรือภาพขุนนางสำคัญเช่นพระวิสูตรโยธามาตย์ (โหมดอมาตยกุล)ต่อมาคือพระยากระสาปนกิจโกศลซึ่งถือว่าเป็นช่างภาพไทยคนแรก
เขาเป็นบุตรชายคนโตของช่างทำแผนที่ในราชสำนักปรัสเซียโจฮานน์เจกอร์ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารที่เป็นที่รู้จักที่สุดในกรุงเบอร์ลินด้วยเจกอร์ได้ขายธุรกิจครอบครัวไปในปีพ.ศ. 2386และก่อตั้งโรงแรมหรูขึ้นใกล้กับพระบรมมหาราชวังและเนื่องจากเขาได้ขายโรงแรมดังกล่าวในอีกไม่กี่ปีถัดมาเขาจึงใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องทำงาน
การเดินทางมาเอเชียของเขายาวนานถึง5ปีและเขาได้มีโอกาสไปเยือนหลายประเทศในเอเชียเขาได้ถ่ายภาพที่สยามอย่างน้อย74ภาพอีกทั้งยังได้ฉายภาพพระมหากษัตริย์ไทยพระมเหสีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมไปถึงทัศนียภาพและนาฎศิลป์สยามอีกด้วยเจกอร์ได้เขียนบันทึกอย่างละเอียดซึ่งบางส่วนเพิ่งได้รับการนำมาศึกษาเมื่อไม่นานมานี้

3. ปิแอร์รอซิเอร์(2372-ประมาณ2441) เป็นหนึ่งในช่างภาพยุคแรกในสยามคนสำคัญที่สุดถึงแม้ว่าจะไม่มีภาพถ่ายใดในเอเชียที่มีการลงชื่อหรือบ่งบอกว่าเป็นของเขาอย่างถูกต้องเลย
เขาเกิดในเกรนด์ซิวาสที่เมืองไฟร์เบอร์กสวิสเซอร์แลนด์เป็นบุตรชายคนที่4จากพี่น้องทั้งหมด10คนในครอบครัวชาวนานิกายคาธอลิกมีอาชีพเป็นครูตอนอายุ16และเมื่ออายุได้25ปีเขาได้พาสปอร์ตซึ่งระบุไว้ว่าเขาเป็นช่างภาพ
เขาเดินทางไปสหราชอาณาจักรโดยทำงานที่บริษัทอังกฤษแห่งหนึ่งชื่อเนเกร็ตตี่แอนด์แซมบร้าซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพสามมิติชั้นนำรอซิเอร์ได้เดินทางถึงฮ่องกงผ่านบอมเบย์เมื่อวันที่7กรกฎาคมพ.ศ. 2401และในปลายปีนั้นเขาได้เปิดสตูดิโอชั่วคราวที่Commercial Hotel
ตลอด3ปีหลังจากนั้นรอซิเอร์ได้ถ่ายภาพแบบสามมิติที่จีนญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ซึ่งผลงานดังกล่าวได้มีการจัดจำหน่ายโดยเนเกร็ตตี้แอนด์แซมบร้าที่กรุงลอนดอน
ในพ.ศ. 2404เขามาที่กรุงเทพฯและได้สร้างผลงานถ่ายภาพแบบสามมิติ 30 ภาพเพื่อลงชุดภาพชุดให้บริษัทเนเกร็ตตี่แอนด์แซมบร้าและเขาอาจจะได้เข้าเฝ้าฯเพื่อถวายการสอนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเรื่องการถ่ายภาพด้วยเมื่ออยู่ที่กรุงเทพฯรอซิเอร์ได้พบกับมารี-เฟอร์แมงโบคอร์ท (2363-2447) หัวหน้าทีมที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของฝรั่งเศสที่กรุงปารีสผู้ซึ่งได้นำสัตว์มีชีวิตจำนวนหนึ่งที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นของขวัญกลับไปด้วย
อย่างไรก็ตามรอซิเอร์มีความเชื่อมโยงกับอองรี่มูโอต์ (2369-2404) มากที่สุดโดยที่ภาพถ่ายผลงานของรอซิเอร์นั้นได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบของภาพลายเส้นเพื่อลงในหนังสือบันทึกการเดินทางของมูโอต์ที่มีชื่อเสียงมาก

4. คาร์ลเฮนริคบิสมาร์คได้สร้างผลงานภาพถ่ายในสยามไว้มากมายเมื่อเขามาเยือนสยามช่วงสั้นๆระหว่างธันวาคมพ.ศ. 2404ถึงกุมภาพันธ์พ.ศ. 2405โดยเป็นช่างภาพประจำคณะสำรวจของท่านเคาน์เฟรดดริคอูเลนบอร์กของปรัสเซีย
เขาเป็นลูกนอกสมรสของหัวหน้าคณะสำรวจท่านเคาน์เฟรดดริคอูเลนบอร์ก (2358-2424) และเบอร์ธาวอนบิสมาร์คเกิดเมื่อวันที่7ตุลาคมพ.ศ. 2382โดยมีญาติเป็นผู้เลี้ยงหลังจากปีพ.ศ. 2401บิสมาร์คได้เตรียมตัวเข้าเป็นทหาร
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีทางการทูตและทางการค้ากับจีนญี่ปุ่นและสยามท่านเคาน์เฟรดดริคอูเลนบอร์กได้นำคณะเดินทางสำรวจซึ่งเป็นตัวแทนปรัสเซียและสหภาพสุลกากรเยอรมันมาเจริญสัมพันธไมตรีในพ.ศ. 2402-2405เขาได้จัดให้คาร์ลบิสมาร์คเข้ารวมคณะเดินทางครั้งนี้ด้วยโดยทำหน้าที่เป็นช่างภาพอย่างเป็นทางการ
เมื่อเขาเดินทางกลับปรัสเซียในพ.ศ. 2405 บิสมาร์คได้เข้าทำงานเป็นล่ามฝึกหัดภาษาจีนที่กระทรวงต่างประเทศของปรัสเซียหลังจากที่ไปเยือนกรุงเบอร์ลินเป็นระยะเวลาสั้นๆเขาได้เดินทางไปกรุงปักกิ่งทั้งๆที่ยังไม่ได้จัดเรียงภาพถ่ายจากการเดินทางครั้งก่อนในสยามเขาได้เป็นผู้แทนของปรัสเซียประจำจีนและหลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในปีพ.ศ. 2413/14ได้เป็นผู้แทนจักรวรรดิเยอรมันบิสมาร์คประสบความสำเร็จมากในอาชีพล่าม

5. ฟรานซิสจิตร (2373-2434) เป็นช่างภาพคนไทยที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่19ถึงแม้ว่าจะแทบไม่เป็นที่รู้จักเลยในแถบยุโรปแต่ผลงานของเขามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์การถ่ายรูปสยามเป็นอย่างมากสำหรับนักวิชาการไทย
จิตรจิตราคนีเกิดที่กรุงเทพฯเพราะเขานับถือศาสนาคริสต์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นฟรานซิสจิตรเขาได้จำหน่ายภาพถ่ายจำนวนมากซึ่งถ่ายโดยบาทหลวงลาร์นอดีและปิแอร์รอซิเอร์คาดว่าเขาได้รู้จักกับช่างภาพทั้ง2ก่อนที่เขาจะเปิดสตูดิโอของตนเองที่เรือนแพหน้าโบสถ์ซานตาครูซในพ.ศ. 2406
ด้านหลังภาพแบบการ์ดเดอวิสิตของเขาจะมีสัญลักษณ์ต่างกันมากมายซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในอาชีพช่างภาพของเขาเนื่องจากเขาได้รับแต่งตั้งเป็นช่างภาพในราชสำนักในเดือนกันยายนพ.ศ. 2411ซึ่งเป็นช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดอาชีพของเขาไม่มีช่างภาพท่านใดได้ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มากกว่าฟรานซิสจิตรอีกแล้ว
หลังจากนั้นทองดีจิตรบุตรชายของเขาได้สานต่อธุรกิจครอบครัวทำให้ธุรกิจดังกล่าวรู้จักกันในนามเอฟจิตรแอนด์ซันส์
ฟรานซิสจิตรถึงแก่กรรมจากโรคอหิวตกโรคเมื่อวันที่23พฤษภาคมพ.ศ. 2434บุตรผู้ซึ่งเคยทำงานที่สตูดิโอในกรุงฮัมบูร์กชื่อเบ็งค์แอนด์คินเดอร์แมนน์เป็นระยะเวลา4ปีรับช่วงธุรกิจต่อจากเขาแต่ไม่ทราบว่าเป็นระยะเวลานานเท่าใด
กล่าวได้ว่าเอฟจิตรไม่มีใครสามารถเทียบเคียงได้เลยด้วยนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของจิตรทำให้ผลงานของเขามากมายเป็นที่รู้จักในแถบยุโรปโดยที่ภาพถ่ายนั้นถูกจัดจำหน่ายภายใต้ชื่อที่แตกต่างกัน

6. จอห์นทอมสัน(2416-2464) เป็นหนึ่งในช่างภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดในเอเชียตะวันออกไกลเขาเป็นช่างภาพฝีมือเยี่ยมและผลงานของเขานั้นได้รับการจัดจำหน่ายในรูปแบบของภาพลายเส้นลงนิตยสารหรือหนังสือนอกจากนี้เขายังได้เผยแพร่ผลงานมากมายลงหนังสือและบทความจำนวนมากเมื่อเขาเสียชีวิตเซฮร์เฮนรี่โซโลมอนเวลล์คัม (2396-2479) ได้ซื้อฟิล์มกระจกของทอมสันกว่า660ชิ้นมาไว้ในครอบครองซึ่งปัจจุบันฟิล์มดังกล่าวอยู่ที่ห้องสมุดเวลล์คัมสถาบันเวลล์คัมในกรุงลอนดอนซึ่งห้องสมุดดังกล่าวมีคอลเลคชันฟิล์มกระจกภาพบุคคลและทิวทัศน์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนที่มากที่สุด
จอห์นทอมสันเกิดที่เมืองเอดินเบอระสก๊อตแลนด์เขาได้ฝึกงานกับบริษัททำอุปกรณ์จักษุและช่างทำอุปกรณ์วิทยาศาสตร์หลังจากนั้นเขาได้เดินทางออกจากบ้านเกิดไปสิงคโปร์เมื่อพ.ศ. 2405เพื่อไปหาวิลเลียมพี่ชายของเขาซึ่งได้ก่อร่างสร้างตัวเป็นช่างทำนาฬิกาและช่างภาพแล้วที่นั่นในพ.ศ. 2406ทอมสันมีประสบการณ์เป็นช่างภาพท่องเที่ยวในเดือนกันยายนพ.ศ. 2408เขาเดินทางมาถึงกรุงเทพฯและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เขาเข้าฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์เมื่อวันที่6ตุลาคมหลังจากนั้นเขาได้ถ่ายภาพพระราชพิธีโสกันต์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เมื่อเดือนมกราคมพ.ศ. 2409
หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์เขาได้เดินทางไปนครวัดและกลายเป็นช่างภาพคนแรกที่ได้ถ่ายภาพปราสารทนครวัดและนครธม
เขาเดินทางกลับมากรุงเทพฯและได้ทูลเกล้าฯถวายฟิล์มกระจกชุดนี้แด่รัชกาลที่ 4หลังจากที่เดินทางกลับสหราชอาณาจักรได้ไม่นานนักทอมสันก็เดินทางกลับไปสิงคโปร์เมื่อพ.ศ. 2410ก่อนที่จะย้ายไปฮ่องกงและได้เดินทางไปถ่ายภาพในจีนหลายครั้งในพ.ศ. 2415เขาเดินทางกลับสหราชอาณาจักรและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายสิริอายุได้84ปี

7. เฮนรี่ ชูเร็น (2392-ไม่ทราบปีที่เสียชีวิต) ทำให้ตราแผ่นดินสยามเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติผ่านผลงานภาพแบบการ์ดเดอวิสิต
เขาเกิดที่เอ็กซ์ลาชาเพลโดยในพ.ศ. 2411เขาได้ทำงานในกรุงบรัสเซลส์เป็นช่างตกแต่งภาพต่อมาในพ.ศ. 2416เขาได้เปิดสตูดิโอถ่ายภาพที่สิงคโปร์และได้เดินทางมากรุงเทพฯครั้งแรกในพ.ศ. 2417และได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการอีกทั้งยังได้รับพระราชทานเหรียญบุษปมาลาด้วย
นอกจากจะได้ถ่ายภาพพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์แล้วชูเร็นยังได้ถ่ายภาพทิวทัศน์มากมายซึ่งรวมไปถึงภาพถ่ายที่ยังไม่เคยได้รับการเผยแพร่เช่นที่พระราชวังบางปะอินวัดและแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนหนึ่งในพ.ศ. 2419 เขาได้เดินทางกลับมากรุงเทพฯอีกครั้งไปเปิดสตูดิโอที่กรุงมะนิลาและฮ่องกงในระหว่างนั้นและในพ.ศ. 2423 เขาได้เดินทางกลับเยอรมนีซึ่งเขายังคงเก็บตราแผ่นดินสยามไว้บนภาพถ่ายของเขาจนกระทั่งเขาเลิกอาชีพนี้ไป

8. กุสตาฟริชาร์ดแลมเบิร์ต(2389-2450) เป็นผู้ก่อนตั้งสตูดิโอถ่ายภาพซึ่งแลมเบิร์ตเองก็เป็นช่างภาพด้วยเขาได้ถ่ายภาพหลายร้อยภาพที่สยามและหลายๆภาพได้ถูกตีพิมพ์ในรูปแบบของโปสการ์ดหลังจากที่แลมเบิร์ตได้เดินทางกลับเยอรมนีแล้ว
เขาเกิดที่กรุงเบอร์ลินและเป็นบุตรชายของช่างทำตู้ชาวฝรั่งเศสนิกายโปรเทสแตนท์บรรดาพี่ๆของเขาก็เป็นช่างทำตู้ทำรถม้าและช่างก่อสร้างในสิงคโปร์ต่อมาในพ.ศ. 2405แลมเบิร์ตได้เปิด “สถานที่ทำการถ่ายภาพ” ขึ้นไม่เกินพ.ศ. 2410เขาได้เดินทางไปอินโดนีเซียและเดินทางกลับยุโรปไม่เกินพ.ศ. 2413และเดินทางกลับมาสิงคโปร์อีกครั้งในพ.ศ. 2420 เขาได้เดินทางมากรุงเทพฯเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2422 และในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2423เขาได้รับพระราชทานเหรียญบุษปมาลาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและในปลายปีเดียวกันนี้เขาได้ลงโฆษณาว่า “แลมเบิร์ตจีอาร์แอนด์โก/ ช่างภาพแต่งตั้งในพระมหากษัตริย์แห่งสยาม”
แลมเบิร์ตได้เป็นเปลี่ยนสัญชาติเป็นพลเมืองสิงคโปร์ในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2429หลังจากที่ได้ทิ้งธุรกิจไว้ให้เพื่อนร่วมชาติเขาก็ย้ายกลับไปเมืองแซ็กโซนีโดยเปิดสตูดิโอขึ้นในเมืองเดรสเดนโดยพำนักอยู่บนถนนเส้นเดียวกันกับช่างภาพในราชสำนักสยามอีกท่านคือฟริทซ์ชูแมนน์

9. แม็กซ์มาร์ติน(เริ่มต้นอาชีพช่างภาพ 2424-2455)ถึงแม้ว่าจะมีภาพสยามจำนวนไม่มากนักที่ระบุว่าเป็นผลงานของแม็กซ์มาร์ตินแต่เขาก็ยังใช้สัญลักษณ์ตราแผ่นดินสยาม
ที่หลังภาพแบบการ์ดเดอวิสิตในตลอดอาชีพการทำงานเป็นช่างภาพของเขามาร์ตินมาจากกรุงเวียนนาทำเนียบนามสิงคโปร์ฉบับพ.ศ. 2424 บันทึกชื่อเอ็มมาร์ตินไว้ว่าเป็นผู้ช่วยของโมเสสซีโมเสสแห่งสตูดิโอถ่ายภาพบนถนนแสตมฟอร์ดในสิงคโปร์จากนั้นมาร์ตินเดินทางต่อมายังกรุงเทพฯที่ซึ่งเขาได้เปิดห้องภาพในเดือนมกราคมพ.ศ. 2424 อย่างไรก็ตามรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของเขานั้นมีอยู่ไม่มากดูเหมือนว่าในเดือนเมษายนพ.ศ. 2425 เขาจะได้เลิกดำเนินกิจการสตูดิโอแห่งนี้และปรากฎเป็นช่างภาพอีกครั้งที่ไซ่ง่อนเมื่อพ.ศ. 2429 โดยที่ชื่อของเขาปรากฏอยู่ในรายชื่อที่เมืองไฮฟองจนกระทั่งพ.ศ. 2455 เป็นอย่างน้อย

10. วิลเลียมเคนเนทท์ลอฟตัสเป็นบุตรชายคนที่3ของวิลเลียมเคนเนทท์ลอฟตัส (2363-2401) นักธรณีวิทยาและนักสำรวจชาวอังกฤษชื่อดังและชาร์ลอตต์ธัลบอร์น(2368-2405) นอกจากนี้เขายังเป็นหลานของกัปตันอัลเฟรดจอห์นลอฟตัส (2379-2442)นักอุทุกศาสตร์และนักประดิษฐ์ซึ่งรับราชการในสยามในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวศพของเขาฝังอยู่ที่กรุงเทพฯแต่ไม่ทราบวันเกิดและวันเสียชีวิตที่แน่ชัด
วิลเลียมลอฟตัสเปิดสตูดิโอแห่งแรกของเขาที่กรุงเทพฯเมื่อเดือนเมษายนพ.ศ. 2425เขาได้รู้จักกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธารกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา (2403-2475) พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้ทรงช่วยอธิบายได้ว่าทำไมลอฟตัสจึงมีโอกาสได้ถ่ายภาพพระราชพิธีต่างๆและภายในวัดพระแก้วได้ในพ.ศ. 2432เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในราชสำนักแต่ดูเหมือนว่าเขาจะเสียชีวิตลงในปีถัดมาทำให้วอร์สลีย์โรฟพี่ชายของเขาได้ดำเนินธุรกิจต่อ
ภาพกรุงเทพฯของเขาเป็นภาพถ่ายขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยผลิตในช่วงเวลานั้นภาพที่มีชื่อเสียงของเขาจะเป็นภาพตลาดและภาพวิถีชีวิตคนไทยสมัยนั้น

11. ฟริทซ์ ชูแมนน์ (2403-2455)เป็นเรื่องประหลาดที่ช่างภาพซึ่งมีความภูมิใจที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในราชสำนักเป็นอย่างมากนั้นกลับแทบไม่มีผลงานภาพสยามเลยและใช้ชีวิตอยู่ที่สิงคโปร์และกรุงเทพฯแบบแทบไม่มีร่องรอยใดๆแต่กลับมีภาพจำนวนมากที่เมืองแซ็กโซนีซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยเขาได้ก่อตั้งสตูดิโอมากมายแต่ยังคงตอกย้ำว่าเขาเป็นช่างภาพในราชสำนักสยามคือยังใช้ตราแผ่นดินสยามบนภาพถ่ายแบบการ์ดเดอวิสิตและการ์ดคาบิเนตคาดว่าไม่มีช่างภาพท่านใดที่จะภูมิใจในความเป็นช่างภาพในราชสำนักสยามไปกว่าชูแมนน์อีกแล้ว
คริสเตนเฟรดดริคก็อทธาร์ดชูแมนน์เกิดที่แอนนาเบิร์กแซกโซนีเขาเริ่มอาชีพการถ่ายภาพที่สิงคโปร์และเหมือนว่าจะมากรุงเทพฯในช่วงพ.ศ. 2428-2429โดยที่ไม่มีข้อมูลรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับการเดินทางครั้งนี้เขาได้รับพระราชทานเหรียญบุษปมาลาหลังจากที่เดินทางออกจากกรุงเทพฯไปแล้วในปีพ.ศ. 2431เมื่อเดินทางกลับเยอรมนีเขาได้เปิดสตูดิโอที่เมืองเดรสเดนแอนนาเบิร์กนูเรมบวร์กเวิร์ซบวร์กแบดคิสซิงเจนและคาดว่าน่าจะเปิดสตูดิโอที่เมืองแบดเอลสเตอร์ด้วย

12. โจคิมแอนโทนิโออะโพลนาริโอ (2400-2455) อาจเป็นช่างภาพที่มีความใกล้ชิดกับชาวสยามมากที่สุดเนื่องจากเขาได้ถ่ายภาพวิถีชีวิตประจำวันราษฎรและชนชั้นสูง
เขาเกิดที่มาเก๊าซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสเขาเป็นบุตรชายคนโตของอะโพลนาริโอเดอพอลล่าแอนโทนิโอและเฟอร์มินาฟรานซิสก้าแอนโทนิเขามีพี่น้องอีก4คน
หลังจากที่ได้รับอนุปริญญาด้านวิศวกรรมโยธาสาธารณะและเหมืองแร่ที่ฮ่องกงแอนโทนิโอได้เดินทางถึงกรุงเทพฯในปีพ.ศ. 2432และทำอาชีพเป็นช่างเขียนแบบที่กราสซี่บราเธอร์สแอนด์โกวิศวกรโยธาสถาปนิกผู้รับเหมาและพ่อค้าไม้ก่อนที่จะย้ายไปทำงานที่กรมรถไฟหลวงภายใต้การกำกับดูแลของคาร์ลเบธเก้ (2390-2443)
ในพ.ศ. 2436แอนโทนิโอได้ก่อตั้งสตูดิโอถ่ายภาพบนถนนเจริญกรุงกรุงเทพฯซึ่งมีชื่อว่า “The Chareon Krung Photographic Studio”เขาได้รับ“Diplôme de Collaborateur”ที่Hanoi Exhibitionประจำปีพ.ศ. 2445-46และได้รับเหรียญเงินจากภาพสยามและประเทศใกล้เคียงในงานเดียวกันที่ซึ่งเขาได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น “ช่างภาพอย่างเป็นทางการในราชสำนักสยาม”
เขาได้ร่วมงานกับโรเบิร์ตเลนซ์และในพ.ศ. 2447 ผลงานของเขาได้กลายมาเป็นหนึ่งในหนังสือนำเที่ยวเล่มแรกๆของกรุงเทพฯแอนโทนิโอเสียชีวิตลงด้วยเส้นโลหิตในสมองแตกเฉียบพันที่กรุงเทพฯในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2455

13. โรเบิร์ตเลนซ์(2407-2482)เมื่อเปรียบเทียบกับช่างภาพทั้งหมดในสยามเมื่อช่วงศตวรรษที่19นับว่าโรเบิร์ตเลนซ์เป็นช่างภาพที่มีผลงานมากที่สุดและทรงอิทธิพลมากที่สุดผลงานของเขามีอยู่ในรูปแบบโปสการ์ดเป็นจำนวนมากทำให้เห็นว่าสยามเป็นอย่างไรในช่วงต้นศตวรรษที่20โดยภรรยาของเขามีส่วนสำคัญในการนำผลงานของเขามาเผยแพร่หลังจากที่เดินทางออกจากกรุงเทพฯไปแล้ว
โรเบิร์ตเลนซ์เกิดที่เมืองทริเออร์ (ขณะนั้นอยู่ในปรัสเซียปัจจุบันคือไรน์แลนด์ในเยอรมนี) เขาเริ่มอาชีพช่างภาพด้วยการเป็นผู้ช่วยในสตูดิโอของคอนราดรัฟ (2383-2465) ช่างภาพในราชสำนักที่เมืองไฟรเบอร์กจากนั้นได้เป็นผู้ช่วยของฟิลลิปอดอล์ฟคลายเออร์ (2386-2454) ช่างภาพที่เมืองย่างกุ้งในพม่าตั้งแต่พ.ศ. 2434-2436ก่อนที่จะเดินทางไปสิงคโปร์ในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2436
เขาได้เดินทางมากรุงเทพฯในพ.ศ. 2437และได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในพระมหากษัตริย์สยามตั้งแต่พ.ศ. 2438
ต่อมาในพ.ศ. 2439พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรสตูดิโอของเลนซ์ที่สิงคโปร์
ในพ.ศ. 2441เลนซ์ได้ย้ายไปกรุงเทพฯตลอดระยะเวลา9ปีหลังจากนั้นสตูดิโอของเขาโฆษณาโดยใช้ชื่อต่างๆมากมายจนกระทั่งวันที่30มกราคมพ.ศ. 2450หนังสือพิมพ์The Bangkok Timesได้ลงว่า”โรเบิร์ตเลนซ์ได้ขายธุรกิจห้องภาพให้กับอีมิลกรูทและคาร์ลพรัสส์แล้วเลนซ์จะเดินทางออกจากสยามอย่างถาวรในสัปดาห์นี้”
เลนซ์ได้เปิดบริษัทนำเที่ยวกับคาร์ลบุตรชายของเขาที่เมืองทริเออร์ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยทำการอยู่หลายปีจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง

14. เอมิลกรูท(2413-2491)เอมิลกรูทรับช่วงกิจการห้องภาพต่อจากโรเบิร์ตเลนซ์แอนด์โกและสยามโฟโต้ซัพพลายหลังจากที่โรเบิร์ตเลนซ์ได้เดินทางออกจากสยามไปกรูทเป็นช่างภาพชาวเยอรมันท่านสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เอมิลเอ็ดดาร์ดกรูทเกิดที่ดอร์ธมุนด์เป็นบุตรคนที่7ของวิลเฮล์มกรูท (2373-2433) ผู้ผลิตเสื้อผ้าผู้หญิงและโจแฮนนา
ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2429กรูทได้เข้าฝึกงานกับสตูดิโอถ่ายภาพชื่อบอร์สเชลแอนด์จอร์แดนที่ดอร์ธมุนด์เป็นระยะเวลา2ปีและได้ทำงานกับสตูดิโอถ่ายภาพอีก5แห่งในเมืองต่างๆ5เมืองในเยอรมนีเขาได้เดินทางมาแถบตะวันออกเป็นครั้งแรกเพื่อมาหาพี่ชายที่เมาะลำเลิง
แต่อุปกรณ์การถ่ายภาพได้รับความเสียหายระหว่างทางทำให้เขาต้องรับงานจากฟิลลิปคลายเออร์ซึ่งเป็นช่างภาพในเมืองร่างกุ้งจากนั้นเขาได้เดินทางกลับเยอรมนีที่ซึ่งเขาใช้ชีวิตอยู่จนกระทั่งพ.ศ. 2447เขาจึงเดินทางมากรุงเทพฯและรับช่วงธุรกิจต่อจากโรเบิร์ตเลนซ์โดยเข้าหุ้นกับคาร์ลพรัสส์ในปีพ.ศ. 2449เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในราชสำนักในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังจากที่เขาได้รับการปล่อยตัวจากสถานกักกันในปีพ.ศ. 2463หลังจากที่สยามประกาศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่1เขาได้เดินทางกลับมากรุงเทพฯในพ.ศ. 2470และครอบครัวของเขาได้ตามมาอยู่ด้วยในพ.ศ2471
ในปีพ.ศ. 2472 กรูทได้เป็นสมาชิกในสยามสมาคมที่กรุงเทพฯที่ซึ่งได้เผยแพร่ภาพถ่ายโบราณสถานและวัดวาอารามจำนวนหนึ่งกรูทยังคงทำงานให้กับพระราชวงศ์สยามจนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ. 2475 เขาจึงเดินทางกลับเยอรมนีหลังจากนั้นเขาได้ทำงานเป็นช่างภาพที่ฮอนเนฟ (ปัจจุบันคือแบดฮอนเนฟ) จนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง

15. ไคชิอิโซนากะ(2403-2468)ช่างภาพจากคาโกชิม่าบนเกาะคิวชูประเทศญี่ปุ่นเขาเริ่มต้นอาชีพช่างภาพด้วยการเป็นหนึ่งใน4ผู้ช่วยที่“Uyeno, H. (ภายหลังเปลี่ยนเป็นซูซูกิPhotographic Studio”ที่นครเซี่ยงไฮ้เขาได้เปิดสตูดิโอที่กรุงเทพฯในพ.ศ. 2439และได้ย้ายสตูดิโอถ่ายภาพของเขาไปอยู่ตรงข้ามสถานอัครราชฑูตสหราชอาณาจักรในพ.ศ. 2443เขาได้รับการบันทึกลงทำเนียบนามกรุงเทพพ.ศ. 2445ด้วยที่อยู่เดิมและในปีพ.ศ. 2448เขามีหุ้นส่วนชื่อโมริยูกิทานากะและยาซูทาโร่อะโซวแต่ชื่อของเขาเองกลับหายไปเพราะเขาไม่ได้อาศัยอยู่ที่นี้แล้วAnnuaireGénéralฉบับปีพ.ศ. 2450บันทึกชื่อเขาไว้กับ “เลนซ์แอนด์โก” ว่าเป็นช่างภาพในกรุงเทพฯหลังจากนั้นแทบไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของเขาอีกเลยถึงแม้ว่าผลงานของเขาบางภาพจะได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารLe Tour du Mondeของฝรั่งเศสก็ตาม
ภาพของเขาที่น่าดึงดูดเป็นพิเศษคือภาพถ่าย2ภาพตามที่เห็นได้ณที่นี้ชื่อภาพว่านางโจททรองด์และแมวของเธอและเด็กหญิงกำลังยิ้ม

Photographers’ biography

1. Abbé Larnaudie, i.e. Jean Baptiste François Louis Larnaudie (1819-1899) was born north of Toulouse, France. He entered the seminary of the Society of Foreign Missions of Paris (Missions étrangères de Paris) in December 1842. Ordained into the priesthood in December 1844, he left France in March 1845 arriving in Siam in July, 1845. He was first stationed at Pak Priau in the province of Saraburi before becoming head of the parish of Saint Joseph in Ayutthaya in 1851 where he stayed until 1861.
While in Siam he experimented with steam-powered mills, arranged for an electric telegraph, learnt gilding and practised photography. In addition, he acted as an interpreter accompanying two Siamese embassies to France in 1861 and 1867.
His portraits of King Mongkut and Queen Debsirindra are among the earliest photographic images of the monarch, some of which were received by the Emperor, Napoleon III.

2. Fedor Jagor (1816-1900) is the least well-known photographer of Singapore and Siam. As early as 1857, he took the first large photographs in Singapore, which are still available from the Ethnographic museum in Berlin. In 1861, he took the first known stereographs of members of the royal family, including King Mongkut, Queen Debsirindra, the Prince of Alongkot and Phra Wisut Yotamad aka Mode Amatayakul, the latter often credited as the first Thai photographer.
F. Jagor was the eldest son of a purveyor to the royal court of Prussia, Johann Jagor, who also owned the best known restaurant in the Prussian capital, Berlin. Jagor sold the family business in 1843 and established a luxury hotel near the Royal palace. Having sold this a few years later, he was able to live on his accumulated wealth.
His first eastern journey lasted some five years and took him to several Asian countries.
There are at least 74 views of Siam. As well as photographing the king, his wife/wives and children, subjects include views and dancers. Jagor kept detailed field notes of his activities, parts of which were evaluated only recently.

3. Pierre Rossier (1829- c. 1898) is one of the most important early photographers of Siam, despite none of his Asian photographs being signed or correctly ascribed to him.
He was born in Grandsivaz, Fribourg, Switzerland, the fourth eldest of ten children within a Catholic farmer family. A teacher aged 16, by 25, his passport lists him as “photographe” (photographer).
Travelling to Britain, he worked for the British firm Negretti & Zambra, a leading producer and distributor of stereographs. Rossier arrived in Hong Kong from Bombay on July 7, 1858 and by the end of the year operated a temporary studio in the Commercial Hotel.
Over the next three years, Rossier took stereo-views of China, Japan and the Philippines, which were distributed by Negretti & Zambra in London.
By 1861, Rossier was in Bangkok, where he took 30 stereo-views for the Negretti & Zambra series and may even have possibly instructed King Mongkut himself.
In Bangkok he joined up with Marie-Firmin Bocourt (1819-1904), head of a team from the Museum of Natural History in Paris who were to take back live animals for their collections as the gift of the Siamese king.
However, it is with Henri Mouhout (1826-1861) that Rossier’s name should be most closely linked. As early as 1862 many of Rossier’s photographs were engraved to illustrate an article by Mouhot.

4. Carl Heinrich Bismarck (1839-1879; Bismark in the reports of the Eulenburg expedition) took many photographs while in Siam between December 1861-February 1862 as official photographer to the Prussian Eulenburg expedition.
He was an illegitimate son of the head of the mission, Count Friedrich Albrecht zu Eulenburg (1815-1881) with Bertha von Bismarck. He was born on 7 October 1839 and brought up by relatives, and after 1858 was preparing for a career in the army.
In order to establish diplomatic and commercial relations with China, Japan and Siam, Count Friedrich Albrecht zu Eulenburg conducted a diplomatic mission on behalf of Prussia and the German Customs Union in 1859-62. He arranged that Carl Bismarck joined the expedition as official photographer.
On his return to Prussia in 1862, Bismarck secured a position as student interpreter of Chinese with the Prussian Foreign Office. After a short visit to Berlin, he left for Peking without having sorted the photographic plates of the expedition. He became a representative of Prussia in China, and after the Franco-Prussian war of 1870/71, representative of the German Empire. As an interpreter, Bismarck was very successful.

5. Francis Chit (1830-1891) is the most important 19th century Siamese photographer. Almost unknown in Europe, his contribution to the history of Siamese photography is today greatly valued by Thai scholars.
Chit Chitrakani (Chitrakhanee) was born in Bangkok. He became a Christian and was henceforth called Francis Chit. Since he sold copies of photographs taken previously by Abbé Larnaudie and Pierre Rossier, he must have been in contact with these photographers before he opened his own studio on a “floating house” in front of the Santa Cruz church in 1863.
The various insignia on the back of his cartes-de-visite bear witness to a distinguished career and it appears he was appointed court photographer by September, 1868, right at the end of King Mongkut’s reign. Throughout his career, no other photographer was closer to the Royal family than him.
Later his son, Thongdee Chit, joined the family business, which became known then as F. Chit and Sons. Francis Chit died of cholera on 23 May 1891. His son who had worked in the Hamburg Studio of Benque & Kindermann for four years continued the business but it is not known for how long.
It is probably no exaggeration to say that F. Chit was in a league of his own. His generosity made many of his photographs known in Europe, where they were sold under different names.

6. John Thomson (1873-1921) is one of the most famous photographers of the East. He was an excellent photographer and his photographs were widely distributed via woodcuts in illustrated newspapers of the time. He also published many of his photographs in various books and articles. At the end of Thomson’s life, Sir Henry Solomon Wellcome (1853-1936) acquired about 660 of his glass negatives, which are now in the Wellcome Library of the Wellcome Institute in London and constitute one of the largest collections of early glass negatives taken in Southeast Asia and China.
John Thomson was born in Edinburgh, Scotland. After an apprenticeship with an optician and scientific instrument maker, he left Edinburgh for Singapore in 1862 to join his brother William, a watch maker and photographer. In 1863, Thomson gained experience as a travel-photographer. In September 1865 he came to Bangkok and was granted an appointment to photograph King Mongkut on 6 October. Later, he photographed the “hair-cutting ceremony” or “Tonsure Festival” of “Prince Chowfa Chulalongkorn” in January 1866. A few weeks later he left for Angkor and was the first to take photographs of the famous monuments. After many adventures, he arrived back in Bangkok and presented the king with a set of photographs. Returning to Britain for a while Thomson was back in Singapore in 1867 before moving to Hong Kong and travelling extensively in China. He returned to Britain in 1872 and died of a heart attack at the age of 84.

7. Henry Schüren (1849- after 1910) made the Royal Siamese coat of arms internationally known through his photographic cartes-de-visite. Born in Aix-la-Chapelle, by 1868 he was in Brussels working as a photographic retoucher. By 1873 he had opened a photographic studio in Singapore and first travelled to Bangkok in 1874 when he was officially appointed photographer to HM King Chulalongkorn and was awarded the Pushpa Mala medal.
As well as photographing the king and royal family, Schüren took many views including some previously unpublished ones at Bang Pa-In, temples and the Chao Phraya. In 1876 he was back in Bangkok again, established studios in Manila and Hong Kong in between, while in 1880 he was finally back in Germany which he left in about 1886 for Antwerp, where it appears he kept the Siamese coat of arms and the Pushpa Mala medal on his cartes de visite until the end of his working life.

8. Gustave Richard Lambert (1846-1907) founded a photographic studio whose photographers, including Lambert himself, took hundreds of photographs in Siam, many published as picture postcards when Lambert was back in Germany.
Lambert was born in Berlin the son of a French-Protestant cabinet maker. His elder brothers were cabinet makers, coach builders and masons in Singapore by 1862, where, in 1867, Lambert had opened his first “Photographic Establishment”. After a sojourn in Indonesia he returned to Europe in 1870, but in 1877 was back in Singapore. Visiting Bangkok for the first time in 1879, by February 1880, he had received the Pushpa Mala medal from King Chulalongkorn and by the end of the year he was advertising as “Lambert, G. R. & Co. / Photographers by appointment to H. M. the King of Siam”.
G. R. Lambert became a naturalized citizen of Singapore in November 1886, but after having finally trusted his business to a compatriot in 1890, settled in Radebeul, Saxony, with a studio in Dresden, residing for a time in the same street as another Siamese court photographer, Fritz Schumann.

9. Max Martin (active 1881-1912)Despite the fact that there are only a few Siamese photographs attributed to Max Martin, he kept the Siamese coat of arms on the back of his cartes-de-visite throughout his career. Martin was from Vienna. The Singapore Directory for 1881 lists a M. Martin as assistant to Moses C. Moses of the “Photographic Studio” in Stamford Road, Singapore. From Singapore Martin travelled to Bangkok, where he opened a studio in January, 1881. However, more details regarding his career are sadly lacking so far. He seems to have vacated the studio by April 1882 and resurfaces as a photographer in Saigon in 1886. Later he appears in listings for Haiphong until at least 1912.

10. William Kennett Loftus was the third son of the famous British geologist and explorer, William Kennett Loftus (1820-58) and his wife Charlotte, née Thulbourne (1825-62). He was also the nephew of Captain Alfred John Loftus (1836-99), a hydrographist and inventor, who for many years was in the employ of King Chulalongkorn. He is buried in Bangkok, but his exact birth and death dates are not known.
W. K. Loftus opened his first studio in Bangkok in April 1882. His acquaintance with a member of the Royal family, HRH Prince Chandradat Chuthadharn (1860-1932) a half-brother of King Chulalongkorn, explains why W. K. Loftus was able to take photographs of Royal ceremonies and of the interior of Wat Phra Keo. By 1889 he had been appointed royal photographer, but it seems that he probably died in 1890 whereupon the studio was taken over by his brother and run by Worsley Rolfe.
His views of Bangkok were the largest prints produced at that time. Particularly notable are his views of markets and everyday life.

11. Fritz Schumann (1860- after 1912)It is ironic that the photographer who was proudest of his royal Siamese appointment, can boast hardly any Siamese photographs and seems to have spent several years in Singapore and Bangkok almost without leaving a trace. Back in his German homeland, Saxony, he produced a great quantity of photographs by founding a number of studios, while continuing to emphasise that he had been royal court photographer in Siam by displaying the Royal Siamese coat of arms on his photographic cartes-de-visite and cabinet cards. Probably no other photographer has been more proud of having been a Royal Siamese court photographer than F. Schumann.
Christened Friedrich Gotthard Schumann, he was born in Annaberg, Saxony. Beginning his photographic career in Singapore, it seems he was in Bangkok between 1885-1886although the details are unknown. He received the Pushpa Mala Medal after he had already left in 1888. Back in Germany he opened several studios in Dresden, Annaberg, Nuremberg, Würzburg, Bad Kissingen and probably also Bad Elster.

12. Joaquim António Apolinário (1857-1912) was perhaps the photographer who became closest to the Siamese people and excelled in capturing everyday life, the country folk and gentry. He was born in the then Portuguese colony of Macao, the eldest son of Apolinário de Paula António and his wife Fermina Francisca António. He had two brothers and two sisters.
After receiving a diploma in Construction of Public Works and Mines in Hong Kong, António arrived in Bangkok in 1889 and became a draughtsman in the office of Grassi Brothers & Co., Civil Engineers, Architects, Contractors and Timber Merchants before moving to the Royal Railway Department under its Director General, Karl Bethge (1847-1900).
In 1893 António founded a photographic studio on New Road, Bangkok, which was called “The Charoen Krung Photographic Studio.” He received a “Diplôme de Collaborateur” during the Hanoi Exhibition of 1902-03, and was awarded a silver medal for his views of Siam and adjacent countries during the same event, where he is mentioned as “official photographer to the Siamese court”.
He collaborated with Robert Lenz and in 1904 his photographs illustrated one of the first guidebooks to Bangkok. António died of a stroke in Bangkok in December 1912.

13. Robert Lenz (1864-1939)Of all the photographers working in late 19th century Siam, Robert Lenz was the most productive and the most influential. His views, many of which circulated as picture postcards, literally shaped how Siam was seen in the early 20th century. This was partly due to his wife, who published her husband’s photographs years after they had left Bangkok.
Robert Lenz was born in Trier (then Prussia, now Rhineland-Palatinate Germany). His first photographic job was that of an assistant in the atelier of the court photographer Conrad Ruf (1840-1922) in Freiburg im Breisgau. He was then assistant to the photographer Philippe Adolphe Klier (1843-1911) in Rangoon (Yangon), British Burma (Myanmar) from 1891-1893 before moving to Singapore where he arrived in May 1893. A visit to Bangkok followed in 1894 and by early 1895, Lenz had become appointed photographer to the king. In 1896 the King of Siam visited him in Singapore, and by 1898 Lenz had moved to Bangkok. Over the next nine years his studio was advertised under various guises until on 30 January 1907 The Bangkok Times stated that: “Robert Lenz has sold photography business to E. Groote and C. Pruss. Mr. Lenz is leaving Siam for good this week.”
In Trier, his birthplace, Lenz ran a travel agency with his son, Carl, at various addresses until the end of his life.

14. Emil Groote (1870-1948)Emil Groote took over the studio of “Robert Lenz & Co.” as well as the “Siam Photo Supply” after the departure of the latter. He was the last German court photographer to King Chulalongkorn
Emil Eduard Groote, born in Dortmund (Province of Westphalia, Prussia), was the seventh child of a ladies’ wear manufacturer Wilhelm Groote (1830-1890) and his wife Johanna (née Berg, 1835-1924).
In September 1886, Groote began a two-year apprenticeship in the photographic studio of Borschel & Jordan in Dortmund, followed by employments in five other photographic studios in as many different German cities. His first trip to the east was to join his brother in Moulmein but as most of his equipment was ruined en route he was obliged to work for Philippe Klier, a photographer in Rangoon. He then returned to Germany until 1904 when he sailed to Bangkok, taking over the studio of Robert Lenz in partnership with Carl Pruss. By 1906 he was appointed “Court Photographer” to King Chulalongkorn.
After release from internment in 1920, Groote went to Worms and finally returned to Bangkok in 1927 where he was joined by his family in 1928.
In 1929, Groote was elected a member of the Siam Society in Bangkok, which published some of his photographs of archaeological monuments. He continued to work for the royal family until the revolution of 1932 after which he returned to Germany, working in Honnef (now Bad Honnef) until his death.

15. Kaishu Isonaga (1860-1925), a photographer from Kagoshima on the island of Kyushu, Japan, started his career as one of four assistants to “Uyeno, H. (late Suzuki) Photographic Studio” in Shanghai. Reportedly, Isonaga opened his Bangkok studio in 1896, where, in 1900, he had his “Photographic Studio” opposite the British Legation. He is listed at the same address in the Bangkok Directory for 1902, and by 1905 he had two partners, Moriyuki Tanaka and Yasutaro Asow, but was himself absent. The 1907 Annuaire Général lists him, together with “Lenz & Co.”, as a photographer in Bangkok. After this time, no details of his life and career in relation to Siam are known although some of his photographs were published in the French periodical Le Tour du Monde.
Particularly charming are the two photographs exhibited here, namely Mme Jottrand with her cat and a smiling young girl.

Facebook Comments
Share Button