หนังสือ ข้อมูล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
หมายกำหนดการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ใน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (อ่านออกเสียง พระ-บาท-สม-เด็จ-พระ-ปอ-ระ-เมน-ทะ-ระ-รา-มา-ธิ-บอ-ดี-ศรี-สิน-ทร-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กรณ-พระ-วะ-ชิ-ระ-เกล้า-เจ้า-อยู่-หัว)
วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๒ – พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์
วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๒ – ประธานสงฆ์ประกาศชุมนุมเทวดาในการพิธีทำน้ำอภิเษกและจุดเทียนชัย
วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๒ – ต้นเทียนชัย เวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก
วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ – เสกน้ำอภิเษกจากกรุงเทพฯ และ 76 จังหวัด ประกาศชุมนุมเทวดา ทำน้ำเทพมนตร์ เจริญพระพุทธมนต์ ทำน้ำพระพุทธมนต์
วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๒ – แห่เชิญน้ำอภิเษกจาก “วัดสุทัศนเทพวราราม” ไปยัง “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม”
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๒ – พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์
วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๒ – จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร และจารึกพระสุพรรณบัฏพระบรมวงศ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ – เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์พระลานพระราชวังดุสิต ปฐมบรมราชานุสรณ์สะพานพระพุทธยอดฟ้า และเสด็จพระราชดำเนินบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ – เชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพและพระราชลัญจกร ไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ,เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร นมัสการพระรัตนตรัย ถวายบังคมพระบรมอัฐิ พระอัฐิ และ จุดเทียนชัย
วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ – พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล, ประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภก ถวายบังคมพระบรมอัฐิ พระอัฐิ สดัปกรณ์, เฉลิมพระราชมณเฑียร
วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ – พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์, เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพระพยุหยาตราสถลมารค
วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ – เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทให้ประชาชนเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคลเสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ให้คณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล
พฤษภาคม-พฤศจิกายน ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
รายละเอียดของตราสัญลักษณ์ ประกอบด้วย
อักษรพระปรมาภิไธย วปร อยู่ตรงกลาง พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเป็นสีของวันจันทร์ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ
ภายในอักษรประดับเพชร ตามความหมายแห่งพระนามมหาวชิราลงกรณ อักษร “วปร” อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์ ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ
กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แวดล้อมด้วย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์อันเป็น เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้แก่
พระมหาพิชัยมงกุฎ พร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล อยู่เบื้องบน
พระแสงขรรค์ชัยศรี กับ พระแส้จามรี ทอดไขว้อยู่เบื้องขวา ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขว อยู่เบื้องซ้าย และฉลองพระบาทเชิงงอน อยู่เบื้องล่าง
พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
พระแสงขรรค์ชัยศรี หมายถึง ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย
ธารพระกร หมายถึง ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง
พระแส้ จามรีกับพัดวาลวิชนี หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์
ฉลองพระบาทเชิงงอน หมายถึง ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร
เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐาน พระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ เบื้องล่าง กรอบอักษรพระปรมาภิไธยมีแถบแพรพื้นสีเขียว ถนิมทอง ขอบขลิบทอง มีอักษรสีทองความว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒” ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีห์กายม่วงอ่อน ประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลอยกนกนาค แสดงถึงปีมะโรงนักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ สีทองหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน
?เชิญดาวน์โหลดหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน ๔ เล่ม ?จัดทำโดย กระทรวงวัฒนธรรม
?เล่ม ๑ ?เล่ม ๒?เล่ม ๓?เล่ม ๔
และ ? ประมวลองค์ความรู้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
?? อำนวยความสะดวกจุดจอดรถ 27 แห่ง เพื่อเชื่อมโยงรถ Shuttle Bus 11 เส้นทาง เข้าสู่บริเวณพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
ง
?? การบริการขนส่งสาธารณะ เส้นทางเดินรถเฉพาะกิจ จำนวน 6 เส้นทางรับ-ส่งประชาชน จากจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร (จอดรับส่งทุกป้าย) เพื่อนำเข้าสู่บริเวณงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
1. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – สนามม้านางเลิ้ง
2. สถานีขนส่งจตุจักร – สนามม้านางเลิ้ง
3. วงเวียนใหญ่ – สะพานพระพุทธยอดฟ้า
4. สนามศุภชลาศัย- บ้านมนังคศิล
5. สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) – สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
6. สถานีรถไฟหัวลำโพง – บ้านมนังคศิลา
?? ติดตามรายละเอียดได้ที่
https://phralan.in.th/coronation/routedetail.php?id=624
?? การบริการเรือด่วนเจ้าพระยา เรือข้ามฟาก และเรือโดยสารคลองแสนแสบ กรมเจ้าท่า ร่วมกับบริษัทเอกชนต่างๆ จัดเรือบริการฟรี ระหว่างวันที่ 4 – 6 พ.ค.62
1⃣ เรือด่วนเจ้าพระยา
✅✅ จาก ท่าเรือท่าน้ำนนทบุรี ถึง ท่าเรือปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร จำนวน 4 เที่ยว (เช้า 2 เที่ยว เวลา 10:00 น. , 11:00 น. และ เย็น 2 เที่ยว เวลา 15:00 น. , 16:00 น.)
✅✅ จาก ท่าเรือสาทร ถึง ท่าเรือสะพานพุทธ จำนวน 4 เที่ยว (เช้า 2 เที่ยว เวลา 10:00 น. , 11:00 น. และ เย็น 2 เที่ยว เวลา 15:00 น. , 16:00 น.)
2⃣ เรือข้ามฟาก (ระหว่างวันที่ 4 – 6 พ.ค. 62 ตั้งแต่ 06.00 – 22.00 น.)
?? จาก ท่าเรือพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) มา ท่าเรือพระราม 8 (ฝั่งพระนคร) บริการทุก 15 นาที
?? จาก ท่าเรือพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) มา ท่าปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร) บริการทุก 20 นาที
?? จาก ท่าเรือปิ่นเกล้า (ฝั่งธนบุรี) มา ท่าเรือปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร) บริการทุก 15 นาที
?? จาก ท่าเรือรถไฟ มา ท่าเรือพระจันทร์ใต้ บริการทุก 20 นาที
3⃣ เรือโดยสารคลองแสนแสบ (บริการฟรี ระหว่างวันที่ 4 – 6 พค 62)
?? วันที่ 4 พค 62 เรือเที่ยวแรก ออกจาก ท่าเรือประตูน้ำ ไป ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ เวลา 07.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.00 น. II ขากลับ เที่ยวสุดท้าย จาก ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ ไป ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 19.15 น.
?? วันที่ 5 พค 62 เรือเที่ยวแรก ออกจาก ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 07.00 น ส่งถึง ท่าเรือโบ้เบ้ เวลา 11.45 น.หลังจากนั้น ส่งถึง ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ เที่ยวสุดท้าย 22.00 น. II ขากลับ เที่ยวสุดท้ายออกจาก ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ ไป ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 22.00 น.
?? วันที่ 6 พค 62 เรือเที่ยวแรก ออกจาก ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 07.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.45 น. II ขากลับ เที่ยวสุดท้ายออกจาก ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ ไป ท่าเรือประตูน้ำ เวลา 20.00 น.
?? การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดขบวนรถพิเศษบริการประชาชนที่มาร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม 2562
?? เส้นทาง Shuttle bus รับส่งประชาชน จากจุดต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร เข้าสู่บริเวณงานพระราชพิธีฯ จำนวน 11 เส้นทาง คือ
1️⃣ เมืองทองธานี, ศูนย์ราชการ – สนามม้านางเลิ้ง
2️⃣ สโมสรตำรวจ, ม.เกษตรศาสตร์ – สนามม้านางเลิ้ง
3️⃣ สโมสรกองทัพบก, กทม.2 – สนามม้านางเลิ้ง
4️⃣ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต – สนามม้านางเลิ้ง
5️⃣ ที่จอดรถของ รถไฟฟ้า(รฟม.) รัชดาฯ, MRT, ศาลอาญา,- บ้านมนังคศิลา
6️⃣ อิเกีย, เมกะ, ไบเทคบางนา – บ้านมนังคศิลา
7️⃣ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง – บ้านมนังคศิลา
8️⃣ ท่าเรือคลองเตย, โรงงานยาสูบ, แอร์พอร์ตลิงค์มังกะสัน – บ้านมนังคศิลา
9️⃣ เซ็นทรัลพระราม 2, โรงเรียนบางมดวิทยา, – วัดเทพศิรินทร์
? พุทธมณฑลสาย 4, เซ็นทรัลศาลายา , อู่รถบรมราชชนนี, มหาวิทยาลัยทองสุข – วัดเทพศิรินทร์
1️⃣1️⃣ เซ็นทรัลเวสเกต – สะพานพระปิ่นเกล้า
?? การให้บริการห้องน้ำ และห้องสุขาเคลื่อนที่
?? การให้บริการห้องน้ำ ห้องสุขา รถสุขาเคลื่อนที่ กรุงเทพมหานคร ได้จัดรถสุขาเคลื่อนที่ จำนวน 48 คัน กระจายตามจุดบริการอาหารที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบ 6 จุดๆ ละ 2 คัน และกระจายตามโซนต่างๆ อีกทั้งยังเตรียมรถสุขาเคลื่อนที่สนับสนุนเพิ่มเติม กรณีไม่เพียงพออีก จำนวน 29 คัน
?? บ้านเรือนของประชาชนที่ยินดีให้การสนับสนุนห้องสุขาสำรองกรณีสุขาเคลื่อนที่ของกรุงเทพมหานครไม่เพียงพอสำหรับให้บริการ ขณะนี้ได้จำนวน 68 หลังคาเรือน โดยจะทำการติดสติ๊กเกอร์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ประชาชนทราบ
?? การให้บริการทางการแพทย์
✅✅ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ ด้านการแพทย์ไว้ดูแลประชาชนที่จะมาร่วมพระราชพิธีในครั้งนี้ตามจุดต่างๆ 6 โซน
?? โซนที่ 1 ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า พระแม่ธรณีบีบมวยผม ซอยหน้าพระธาตุ ปากซอยถนนจันทร์ (วัดพระธาตุ) ท่าช้าง (ท่าเรือ) ซ.หัยเผย (ศาลหลักเมือง)
?? โซนที่ 2 หน้าพิพิธภัณฑ์เหรียญ ถ.บูรณศาสตร์ หน้าวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครพาณิชยการ แยกโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ถ.ข้าวสาร ถ.ตะนาว
?? โซนที่ 3 วัดสามพระยา ถ.พระสุเมรุ วัดชนะสงคราม วัดตรีทศเทพ โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ อาคารจอดรถ กทม. โรงเรียนสตรีวิทยา
?? โซนที่ 4 เทเวศประกันภัย แยกสะพานวันชาติ หน้าอาคารสยามเฮ้าท์ ลานพลับพลา มหาเจษฎาบดินทร์ แมกซ์แฟชั่น ถนนสนามหลวง สมาคมโรงแรมไทย ถนนดินสอ
?? โซนที่ 5 แยกเสาชิงช้า แยกเฉลิมกรุง วงเวียน สน.พระราชวัง โรงเรียนราชบพิธ สี่กั๊กพระยาศรี
?? โซนที่ 6 เทคโนโลยีตั้งตงจิตรพานิชยการ แยกชุมชนท่าเตียน กพร.ทร. มิวเซียมสยาม
นอกจากจุดบริการทางการแพทย์ในพื้นที่แล้ว กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมทีมแพทย์เดินเท้ากระจายอยู่ทุกพื้นที่ พร้อมทั้งได้เตรียมเส้นทางฉุกเฉินในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต่างๆ
☂? สำหรับการเตรียมตัวของประชาชนที่จะมาร่วมงานนั้น เนื่องจากในช่วงงานพระราชพิธีอากาศจะร้อน เตรียมหมวก หรือร่มมาด้วย หรือหากใครมีโรคประจำตัวแนะนำให้พกยาประจำตัวมาด้วย หากมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด หรืออาการต่างๆ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ที่ประจำจุดได้ทันที
?? การให้บริการอาหาร และน้ำดื่ม
?? กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคม องค์กรภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน เพื่อปรุงประกอบอาหาร และบริการอาหารสำหรับประชาชนที่มารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จฯ กระจายตามพื้นที่ต่างๆ ประมาณ 160,000 คน ตามที่ กอร.พระราชพิธีบรมราชาภิเษก กำหนดไว้ จำนวน 6 จุด ได้แก่ วัดเทพศิรินทราวาส , บ้านมนังคศิลา , สนามม้านางเลิ้ง , บริเวณเชิงสะพานพุทธ , บ้านพิษณุโลก และใต้สะพานพระรามแปด ฝั่งเขตบางพลัด
?? จัดกำลังเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานในพื้นที่ พร้อมทั้งมีกระทรวงต่างๆ อีก 19 กระทรวง ร่วมให้การสนับสนุนอาหารว่างสำหรับประชาชน กระทรวงละ 3,000 กล่อง รวม 57,000 กล่อง
?? การให้บริการน้ำดื่ม กรุงเทพมหานคร ได้จัดเตรียมแทงค์น้ำบริการน้ำดื่ม จำนวน 80 แทงค์ รวมถึงมีน้ำขวดกว่า 350,000 ขวด ทั้งในจุดบริการอาหารที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบ 6 จุด และกระจายตามโซนต่างๆ การประปานครหลวงได้ให้การสนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดสำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชน และสนับสนุนกระบอกน้ำหรือแก้วน้ำสำหรับเติมน้ำได้ จำนวน 300,000 ใบ รวมทั้งจัดรถบริการน้ำดื่มแบบเติม จำนวน 8 คัน ตลอดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
?? ข้อมูลอัพเดทเพิ่มเติม Line@บรมราชาภิเษก